6 กุมภาพันธ์ 2558

กรณีศึกษาเปรียบเทียบ : มาคำนวณสมผุสจันทร์กันเถอะ !!

กรณีศึกษาเปรียบเทียบ : มาคำนวณสมผุสจันทร์กันเถอะ !!
          การหาหรคุณจูเลียนนั้นถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะสามารถหาหรคุณประสงค์ตามที่เราต้องการได้เลย เพียงแค่นำค่า 1954167 ลบออกจากหรคุณจูเลียนก็จะกลายเป็นหรคุณประสงค์(จุลศักราช)ตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องคำนวณหรคุณเถลิงศกแล้วนับหาสุรทินนำมาบวกเพิ่มอีกให้ยุ่งยาก ซึ่งทำให้สะดวกและลดขั้นตอนตรงนี้ลงไปมาก
          จากครั้งก่อนได้นำเสนอการคำนวณสมผุสอาทิตย์ด้วยสูตรสมการกลาง “Great Suriyayart” จะเห็นว่าเป็นขั้นตอนที่ลัดสั้นเข้าใจง่าย แต่ต้องไม่ลืมว่าค่าที่ได้นั้นไม่ใช่ค่าที่เป็นแบบคตินิยมในสมัยนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบในเชิงสมการต้นแบบเท่านั้น โดยครั้งนี้เราจะคำนวณหาสมผุสจันทร์จากสมการกลางซึ่งมีสูตรดังนี้
1.มัธยมจันทร์ = มัธยมอาทิตย์ + 12*(hd*703/692+650/692) - 40/60
2.มัธยมอุจจ์ = 360*(hd-621)/3232 + 2/60
3.สมผุสจันทร์ = มัธยมจันทร์ - (296/60) SIN(มัธยมจันทร์ - มัธยมอุจจ์)
          ค่าที่เราจะต้องใช้ในครั้งนี้คือค่าหรคุณประสงค์ค่ามัธยมอาทิตย์ ซึ่งในบทความก่อนเราได้หาไว้แล้วก็จะนำค่านั้นมาใช้ในการคำนวณครั้งนี้ด้วย

ตัวอย่าง วันที่ 1 มกราคม 2558 เวลา 08.30 น. มีค่าที่คำนวณได้และต้องใช้ในที่นี้คือ
หรคุณประสงค์ = 502857
มัธยมอาทิตย์ = 495617.15287330556762842779262646
จากสูตร มัธยมจันทร์ = มัธยมอาทิตย์ + 12*(hd*703/692+650/692) - 40/60 แทนค่าได้ดังนี้
มัธยมจันทร์ = 495617.15287330556762842779262646 + 12*(502857*703/692+650/692) - 40/60
มัธยมจันทร์ = 6625832.457
จากสูตร มัธยมอุจจ์ = 360*(hd-621)/3232 + 2/60 แทนค่าได้ดังนี้
มัธยมอุจจ์ = 360*(502857-621)/3232 + 2/60
มัธยมอุจจ์ = 55942.16205
จากสูตร สมผุสจันทร์ = มัธยมจันทร์ - (296/60) SIN(มัธยมจันทร์ - มัธยมอุจจ์) แทนค่าได้ดังนี้
สมผุสจันทร์ = 6625832.457 - (296/60) * SIN(6625832.457-55942.16205)
สมผุสจันทร์ = 6625832.953
สมการเสริมแปลงค่าเป็นองศาจำนวนจริง(ปรับให้อยู่ในช่วง 360 องศา)
องศาลัพธ์ = องศาจำนวนจริง - 360*int(องศาจำนวนจริง/360)
หากต้องการทราบว่าอยู่ราศี- องศา- ลิปดาใด ให้ปรับ "องศาลัพธ์" ด้วยสูตร
ราศี = int(องศาลัพธ์ / 30)
องศา = องศาลัพธ์ - 30 *ราศี
ลิปดา = int(60*(องศาลัพธ์ - int(องศาลัพธ์)))
องศาลัพธ์ = 6625832.953 360 * int(6625832.953/360)
องศาลัพธ์ 32.953
ราศี = int(32.953 / 30)
ราศี = 1
องศา = 32.953 - 30 * 1
องศา = 2.953

ลิปดา = int(60*(32.953- int(32.953)))
ลิปดา = 57
สรุปได้ค่าสมผุสอาทิตย์จากสมการกลางนี้ = ราศี 1 องศา 2 ลิปดา 15
          โดยเมื่อเปรียบเทียบค่าที่ได้จากโมดูลสุริยยาตร บน excel จะได้ค่า = ราศี 1 องศา 6 ลิปดา 23 ห่างกันอยู่ประมาณ 4 องศา 8 ลิปดา (ค่าที่ได้มีความไต่เลียบเคียงกันอยู่)

          การศึกษากรณีเปรียบเทียบนี้ทำให้เราทราบลักษณะรูปแบบการคำนวณที่เรียกว่าสมการกลาง ที่ท่านเจ้าของตำรับคือคุณทองคำขาวกล่าวว่าเป็นต้นแบบของสมการหาค่าทุกรูปแบบ ค่าที่ได้ยังไม่ใช่ค่าในแบบที่นิยมคติ เพราะยังไม่ได้มีการตัดประมาณแต่อย่างใด
          หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความในครั้งนี้จะพอเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจได้บ้างไม่มากก็น้อย
(สำหรับท่านที่ถนัดทาง excel สามารถนำค่าสูตรสมการไปลงแทนค่าตัวแปรแล้วทำผลคำนวณได้เลย)

ธีรพร  เพชรกำแพง

7 กุมภาพันธ์ 2558