23 มีนาคม 2559

กฎการเกิดอุปราคา


กฎการเกิดอุปราคา


กฎสำคัญส่วนใหญ่ของการเกิดอุปราคาหรือคราส มีดังนี้

1.จันทรุปราคาเกิดได้ในวันจันทร์เพ็ญ สุริยุปราคาเกิดได้ในวันจันทร์ดับ ไม่มีอุปราคาปรากฏทุกๆเดือน

2.สุริยุปราคาเกิดได้อย่างน้อยสองครั้งทุกๆปีและไม่เกินห้าครั้ง จันทรุปราคามีมาสุดสามครั้งในหนึ่งปี จำนวนสูงสุดของอุปราคา(รวมสุริยุปราคาและจันทรุปราคา)คือเจ็ดครั้ง

3.อุปราคามักเกิดเป็นคู่หรือสามครั้งติดต่อกันในแบบ : สุริยุปราคา-จันทรุปราคา-สุริยุปราคา การเกิดจันทรุปราคามักเกิดสุริยุปราคาไม่นำหน้าก็ตามหลังเสมอ(ระยะเวลาประมาณ 14 วัน)

4.ลักษณะการเกิดอุปราคามีวัฏจักรเป็น 18 ปี 11 วัน และอีก 8 ชั่วโมง เราเรียกวัฏจักรนี้ว่า “ซารอส” (Saros cycle) ลักษณะของการเกิดอุปราคาไม่จำเป็นต้องซ้ำกัน (บ้างอ่าน “แซรอส”)

5.ในขณะที่เกิดอุปราคาเต็มที่ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามหรือตำแหน่งร่วม ถ้ามุมระหว่างเส้นของจุดตัด(line of node) กับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์มีค่ามากกว่า 12 องศา 15 ลิปดา จันทรุปราคาเต็มดวงไม่มีโอกาสปรากฏได้ แต้ถ้ามุมนี้มีค่าน้อยกว่า 9 องศา 30 ลิปดา จันทรุปราคาจะต้องปรากฏขึ้น , ถ้ามุมนี้มีค่ามากกว่า 18 องศา 31 ลิปดา สุริยุปราคาไม่สามารถปรากฏได้ แต่ถ้ามุมนี้มีค่าน้อยกว่า 15 องศา 31 ลิปดา สุริยุปราคาต้องปรากฏขึ้น

6.ในการเกิดจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง ระยะเวลาการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงยาวนานที่สุดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที และระยะเวลาของเงามัวจันทรุปราคาบางส่วน-จันทรุปราคาเต็มดวง-จันทรุปราคาบางส่วนรวมกันมากที่สุด 3 ชั่วโมง 40 นาที , ระยะเวลายาวนานที่สุดของสุริยุปราคาเต็มดวงที่เส้นศูนย์สูตรคือ 7 นาที 40 วินาที และสุริยุปราคาวงแหวนสามารถเกิดได้ไม่เกิน 12 นาที 24 วินาที

 

ความรู้จาก : Practical Astronomy with your Calculator or Spreadsheet โดย Peter Duffett-Smith and Jonathan Zwat



ธีรพร เพชรกำแพง
23 มีนาคม 2559