30 มกราคม 2556

การใช้โปรแกรม SnagIt 8 เพื่อจับภาพหน้าจอ


การใช้โปรแกรม SnagIt 8 เพื่อจับภาพหน้าจอ
(กรณีใช้จับภาพกระดานชนวนโหนตัวเล็ก)

SnagIt 8 โปรแกรมจับภาพหน้าจอที่สมบูรณ์แบบ ทำให้เราสามารถจับภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเราได้ทุกรูปแบบที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ เช่น การจับภาพ รูป ตัวอักษร และวีดีโอ หรือจะจับภาพทั้งเว็บไซต์ ทั้งหน้าจอ จนถึงการจับภาพแบบลักษณะ Record Video ซึ่งนับว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจอีกตัว และที่ผู้เขียนนำมาเวอร์ชั่น 8 นี้มาลงเพราะใช้มานานแล้วเห็นว่ามีความเสถียรดีกว่ารุ่นใหม่ หากใครสนใจรุ่นใหม่ๆก็สามารถสืบค้นหามาใช้ได้ครับ
SnagIt ได้รับรับรางวัลของ PC Magazine Editors Choice " Best of the year 2003 " และ รางวัลอื่นอีกหลายรางวัล ที่เป็นเหตุผลเครื่องยืนยันคุณภาพได้ เข้าเรื่องการจับภาพกระดานชนวนมาจัดการขั้นตอนของเรากันเลยดีกว่าครับ

1.อย่างแรกเราก็ต้องมีเจ้าโปรแกรม SnagIt 8 ไว้เพื่อจะติดตั้งก่อน โดยเข้าไปโหลดที่ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรม SnagIt 8 ที่ผู้เขียนจัดทำไว้ให้ (เว็บฝากไฟล์ MediaFire โหลดง่าย เร็วแรง ไม่ยุ่งยาก และฟรี!!!) ดาวโหลดมาแล้วก็จัดการ Install ลงเครื่องตามปกติ กินทรัพยากรพื้นที่คอมพิวเตอร์น้อย แต่อรรถประโยชน์มากคณา
ลิงก์สำหรับดาวน์โหลด : http://www.mediafire.com/download.php?w8dgdxr8c4rtdir


2.จากนั้นดำเนินการ Install ติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องได้ทันที (ชั่วเวลาแค่เคี้ยวหมากแหลก)



3.พอลงโปรแกรมสมบูรณเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้ง) ลองเปิดโปรแกรมดูว่าจะมีอะไรให้เราทำความเข้าใจเพื่อสะดวกแก่การใช้งานตามอรรถประโยชน์ที่เราตั้งประสงค์ไว้


มาดูเป็นลำดับข้อที่จัดเรียงให้ดูไว้เลยดีกว่าว่าอะไรตัวไหนใช้งานอย่างไรและเพื่ออะไร ตามมาดูกันครับ
1.คือถ่ายภาพแบบลากส่วนที่จะถ่ายเอง แบบนี้พื้นหลังใดๆก็จะติดมาด้วย ถ้าไม่ต้องการบางสาวน ต้องมาเสียเวลาตัดต่อกันอีกหน่อย (เครื่องมือตัดต่อมีอยูในโปรแกรมอยู่แล้ว ไม่ต้องยุ่งยากไปตัดต่อกับโปรแกรมอื่น ชนิดทำงานซ้ำซ้อนไปมา งานนี้ SnagIt จัดให้ครบครันเรื่องการจับภาพและตัดต่อ)


2.ถ่ายเฉพาะหน้าต่างที่เราทำงานปัจจุบัน ได้แต่ภาพโปรแกรมที่ต้องการไม่มีฉากหลังมารบกวนใจต้องเสียเวลาตัดต่อ


3.ถ่ายแบบเต็มจอ หรือ Full Screen คือภาพหน้าจอเราเป็นอย่างไร ตอนเราใช้ Snag It จับภาพก็จะได้ตามนั้น


4.ถ่ายแบบหน้าต่างตั้งแต่บนลงมาใช้ส่วนใหญ่กับเว็บเพจ




5.ถ่ายเมนูนับถอยหลังถ่าย (ผลที่ได้คล้ายข้อ 4)



6.ถ่ายข้อความทั้งหน้าต่าง (ผลคล้ายข้อ 4,5 แต่ผลที่ได้จะออกมาทั้งหน้าต่างชิ้นงานนั้น


          เอาพอคร่าวๆพอเป็นทำเนาให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษาต่อยอดกันเอาเอง เพราะยิ่งอธิบายเนิ่นไปก็จะเยิ่นเยื้อฟั่นเฝือเวลาเปล่าๆ มาเข้าเรื่องที่เราจะใช้โปรแกรม Snag It ในการจับภาพโปรแกรมโหราศาสตร์ของเราไปใช้ประโยชน์ในการโพสต์ลงบอร์ด เฟสบุค hi5 กระดานิเล็กทรอนิกส์ตามเว็บเพจ หรือจะนำไว้เก็บเป็นดวงสถิติที่น่าสนใจดังนี้
1.เปิดโปรแกรมที่เราต้องการขึ้นมา พร้อมกรอกข้อมูลทำการคำนวณประมวลผลให้เรียบร้อย
-เปิดโปรแกรมโหราศาสตร์ กรอกข้อมูล ประเมินผล



2.ในที่นี้เราต้องการแต่ภาพโปรแกรมเท่านั้น ให้เลือกทำตามหัวข้อที่ 2 ด้านบน
-จะได้เฉพาะหน้าต่างโปรแกรมนั้นมา

3.หากเราต้องการแต่กระดานชนวนไปใช้อย่างเดียวก็ให้ดำเนินงานตัดต่ออย่างง่ายๆ โดนเลื่อนปุ่มสี่เหลี่ยมกรอบนอกให้มาชิดกับภาพกระดานชนวนที่เราต้องการ



4.พอเลื่อนเสร็จเราก็จะได้ภาพกระดานชนวนดวงชะตาไปใช้ตามกิจประสงค์


5.ตัวอย่างการโพสต์ลงในสังคมออนไลน์(social network) ในที่นี้ลองโพสต์ลงในเฟสบุค(facebook) ดังนี้



บทความและภาพประกอบโดย ธีรพร  เพชรกำแพง (อ.ฮิปโป)

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมทักษาโสฬส&โหนตัวเล็ก(ผูกดวงฉบับย่อ)

17 มกราคม 2556

การหาหรคุณประสงค์จากปฏิทินสุริยคติสากล


การหาหรคุณประสงค์จากปฏิทินสุริยคติสากล

ตัวแปร
d = วันที่ , m = เดือน , y = ค.ศ. , hr = ชั่วโมง , mn = นาที , sc = วินาที

สูตรคำนวณ

1. ถ้า m > 2 แล้ว jy = y และ jm = m + 1
ถ้า m <= 2 แล้ว jy = y - 1 และ jm = m + 13
2. intgr = Int[ Int[365.25* jy] + Int[30.6001* jm] + d + 1720995 ]
3. ja = Int[0.01*jy]
4. intgr = intgr + 2 - ja + Int[0.25*ja]
5. dayfrac = hr/24.0-0.5
ถ้า dayfrac < 0 แล้ว dayfrac = dayfrac + 1 และ intgr = intgr - 1
6. frac = dayfrac + (mn + sc/60)/60/24
7. hd = Round[ (intgr + frac - 1954167.5)*100000] / 100000

ตัวอย่างการคำนวณ
          ข้อมูลที่เราต้องใช้ในการคำนวณ หรคุณประสงค์ โดยใช้ปฏิทินสุริยคติสากล(Gregorian) คือ วันที่ เดือน ค.ศ. ชั่วโมง นาที วินาที ที่เราต้องการจะหาหรคุณ ในที่นี้ยกตัวอย่างการคำนวณ วันที่ 12 เดือน 8 (สิงหาคม ) ค.ศ. 1984 เวลา 09:03:00 น.
          d = 12           m = 8           y = 1984
          hr = 9           mn = 3                   sc = 0

1. ถ้า m > 2 แล้ว jy = y และ jm = m + 1
   ถ้า m <= 2 แล้ว jy = y - 1 และ jm = m + 13

พิจารณาเงื่อนไข
          1.1 ถ้าเดือน(m)มีค่ามากกว่า 2 ให้ตัวแปร jy = y (jy = ค.ศ.) และให้ตัวแปร jm = m+1 (jm = เดือน+1)
          1.2 ถ้าเดือน(m)มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ให้ตัวแปร jy = y - 1 (jy = ค.ศ. - 1) และให้ตัวแปร jm = m+13 (jm = เดือน+13)
          ตัวอย่างของเราเดือนสิงหาคม = 8 มีค่ามากกว่า 2 ฉะนั้นอยู่ในเงื่อนไขที่ 1.1 นำเข้าสูตรคำนวณได้ว่า jy = 1984 และ jm = 9 (มาจาก m+1)

2. intgr = Int[ Int[365.25* jy] + Int[30.6001* jm] + d + 1720995 ]
          ต่อไปเป็นการหาค่าของตัวแปรที่ชื่อว่า intgr โดยนำข้อมูลที่เรามีเข้าสูตรได้ดังนี้
intgr    = Int[ Int[365.25* 1984] + Int[30.6001* 9] + 12 + 1720995 ]
= Int[ Int[724656] + Int[275.4009] + 12 + 1720995 ]
= Int[ Int[724931.4009] + 12 + 1720995 ]
= Int[ Int[724931.4009] + 12 + 1720995 ]
intgr    = 2445938
          สรุปคือตัวแปร intgr = 2445938 โดยค่าในวงเล็บ int() หมายถึงการปัดเศษค่าตัวเลขเป็นจำนวนเต็ม เช่น Int[724931.4009] = 724931 เป็นต้น

3. ja = Int[0.01*jy]
          ต่อไปเป็นการหาค่าตัวแปร ja โดยค่า jy ของเราคือ 1984 นำเข้าสูตรคำนวณได้ ดังนี้
          ja = Int[0.01 x 1984]
          ja = Int[19.84]
          ja = 19
          สรุปคือตัวแปร ja = 19

4. intgr = intgr + 2 - ja + Int[0.25*ja]
          ต่อไปเป็นการหาค่าตัวแปร intgr ครั้งที่สอง โดยนำค่า intgr เดิมมาร่วมคำนวณด้วย ดังนี้
          Intgr = 2445938 + 2 - 19 + int(0.25 x 19)
          Intgr = 2445938 + 2 - 19 + int(4.75)
          Intgr = 2445938 + 2 - 19 + 4
          Intgr = 2445925
          สรุปตัวแปร intgr ครั้งที่สองนี้มีค่าเท่ากับ 2445925

5. dayfrac = hr/24.0-0.5
   ถ้า dayfrac < 0 แล้ว dayfrac = dayfrac + 1 และ intgr = intgr - 1
          ต่อไปเป็นการหาค่าตัวแปรที่มีชื่อว่า dayfrac โดยค่าที่เราจะต้องนำมาใช้ในการคำนวณคือ ค่าชั่วโมง hr ของเราในที่นี้ hr = 9 นำเข้าสูตรการคำนวณ ดังนี้
          dayfrac = 9/24.00 - 0.5  (เครื่องหมาย / หมายถึง หาร)
          dayfrac = 0.375 - 0.5 
          dayfrac = 0.375 - 0.5 
dayfrac = -0.125
สรุปว่าค่าของตัวแปร dayfrac = -0.125 แล้วยังมีเงื่อนไขในสูตรหัวข้อนี้อีกว่า ถ้าตัวแปร dayfrac มีค่าน้อยกว่า 0 แล้ว dayfrac = dayfrac + 1 และ intgr = intgr – 1 โดยที่ค่า dayfrac ของเราเท่ากับ -0.125 เป็นจำนวนติดลบซึ่งมีค่าน้อยกว่า 0 จึงแทนสูตรในเงื่อนไข ดังนี้
dayfrac = -0.125 + 1            intgr = 2445925 – 1
dayfrac = 0.875                   intgr = 2445924

6. frac = dayfrac + (mn + sc/60)/60/24
ต่อไปเป็นการหาค่าตัวแปรที่มีชื่อว่า frac โดยค่าที่เราจะต้องนำมาใช้ในการคำนวณคือ dayfrac , mn(นาที) , sc(วินาที) โดยที่ค่า dayfrac = 0.875 , mn = 3 , sc = 0 จึงแทนสูตรในเงื่อนไข ดังนี้
frac = 0.875  + (3 + 0/60)/60/24
frac = (0.875  + 3) /60 /24
frac = 3.875 /60 /24
frac = 0.0026909722222222

7. hd = Round[ (intgr + frac - 1954167.5) x 100000] / 100000
          ต่อไปเป็นการหาค่าตัวแปรที่มีชื่อว่า hd ซึ่งก็คือหรคุณที่เราต้องการนั้นเอง โดยตัวแปรที่นำมาเกี่ยวข้องกับการคำนวณ คือ intgr = 2445924 , frac = 0.0026909722222222 ซึ่งสามารถนำมาเข้าสูตรได้ดังนี้
          hd = Round [ (2445924 + 0.0026909722222222  - 1954167.5) x 100000] / 100000
          hd = Round [ (2445924 + 0.0026909722222222  - 1954167.5) x 100000] / 100000
hd = Round(491756.5026909722)
[ค่าที่อยู่ในวงเล็บของ Round() หมายถึง การปัดค่าเศษทศนิยมท้ายให้เป็นจำนวนเต็ม] ดังนั้น
hd = 491757
ฉะนั้นจากสูตรทั้ง 7 ข้อข้างต้น เราจึงได้ หรคุณประสงค์ จากข้อมูลปฏิทินสุริยคติ คือ 491757 โดยที่ค่าทศนิยม(เวลา)ของ hd มีค่ามากกว่า 0 คือ 0. 5026909722 ถือว่าผ่านเข้าสู่วันใหม่ไปแล้ว จึงบวกหรคุณเพิ่มขึ้นอีก 1 ดังนั้น หรคุณ(hd) = 491757 + 1 = 491758
หากเรานำหรคุณที่คำนวณได้มาหารด้วย 7 เศษที่ได้จากการหารจะเป็นวันในสัปดาห์(วาร) โดยที่เศษ 1 = วันอาทิตย์,เศษ 2 = วันจันทร์,เศษ 3 = วันอังคาร,เศษ 4 = วันพุธ,เศษ 5 = วันพฤหัสบดี,เศษ 6 = วันศุกร์,เศษ 7 = วันเสาร์
โดยในที่นี้ข้อมูลตัวอย่างของเรา คือ วันอาทิตย์ ที่ 12 เดือนสิงหาคม ค.ศ.1984 ลองนำหรคุณที่คำนวณได้มาหารด้วย 7 แล้วพิจารณาเศษว่าออกมาตรงกับวันของข้อมูลตัวอย่างหรือไม่
491758 / 7 = 70251.14285714286 (ลัพธ์) เศษจากการหารคือ 1 ซึ่งก็ตรงกับวันอาทิตย์ตามข้อมูลตัวอย่าง ถือว่าการคำนวณที่เราทำมานี้มีความถูกต้อง สามารถนำเอาผลหรคุณประสงค์นี้ไปใช้กับการคำนวณหาตำแหน่งดาวตามคัมภีร์สุริยยาตร์และมานัตต์ได้ต่อไป


บทความโดย ธีรพร  เพชรกำแพง
18 มกราคม 2556 เวลา 12.00 น.

16 มกราคม 2556

คำพยากรณ์ภูมิจรตามทักษา



คำพยากรณ์ภูมิจรตามทักษา

ตกอีสานภูมิอาทิตย์ มักพาลผิดญาติกา เกิดโรคาอัคคีภัย โลหิตไหลจากตน ทิศแห่งหนอีสาน จะรำคาญเกิดโทษ เสียประโยชน์หลายสถาน บริวารจะก่อเหตุ เกิดภัยเภทมุสิกา กัดวัตถาอาภรณ์ ให้อาวรณ์ไว้จงดี

ตกบูรพาภูมิจันทร์ สติมั่นระวังโอษฐ์ จะมีโทษถึงตน จะเสียผลอลเวง เป็นชีเกรงจะสึก คฤหัสถ์นึกใคร่บวช จะเจ็บปวดบาดแผลหลาย จักสมหมายเพราะบัณฑิต มีเพื่อนมิตรเป็นศัตรู ชายดูผมหยักศก ไม่โฉลกหญิงขาวเหลือง ทำให้เคืองใจข้อง อย่าเสพซ้องเสเพล อย่าหันเหบูรพา เคราะห์โรคาจักได้

ตกอาคเนย์ภูมิอังคาร มักร้าวรานเคืองเข็ญ โรคาเป็นนอกใน ลุลาภได้ลูกเมีย ทรัพย์สูญเสียเงินทอง ศัตรูปองทำโทษ ชายโสดเนื้อสองสี หญิงกาลีพิการ อย่าไว้วานเจ้าเล่ห์ อาคเนย์อย่าไป ญาติผู้ใหญ่จะอาสัญ

ตกทักษิณภูมิพุธ บริสุทธิ์ใจผ่อง ข้าวของอย่ารับฝาก อย่าออกปากรับไว้ จะเกิดภัยแก่ตน ลาภทุกหนไหลมา เกิดโรคาปวดท้อง อย่าแตะต้องเนื้อสัตว์ เจ็บขัดที่ทรวงอก อย่ากินนกปักษี จรลีทิศใต้ ท่านห้ามไว้อย่าจร จะม้วยมรณ์ภัยมาก

ตกหรดีภูมิเสาร์ มักอับเศร้าเสียศรี เกิดราคีหลายหลาก ประหยัดปากของตน จะเสียผลของรัก โทษหนักเพราะผู้ใหญ่ บ่าวไพร่เป็นศัตรู รำคาญหูการนินทา ทรัพย์ได้มาเสียหาย เกิดวุ่นวายหลายด้าน อย่าออกบ้านหรดี

ตกประจิมภูมิพฤหัส เกิดสวัสดิ์มีศรี ไร้ไพรีบีฑา โชคไหลมาเนืองนอง ทั้งข้าวของที่อาศัย จากผู้ใหญ่และบัณฑิต สมนึกคิดคาดหมาย คิดค้าขายเวียนหมุน การลงทุนไม่พลาด มีอำนาจยศศักดิ์ เป็นที่รักของปวงชน ประจิมหนอย่าไป จะเกิดภัยถึงตน

ตกพายัพภูมิราหู มีศัตรูรอบด้าน อย่าออกบ้านผิดเวลา เพื่อนอิจฉาเบื่อหน่าย จะวุ่นวายเสียทรัพย์ ทิศพายัพกาลี จะเสียทีลวงหลอก อย่าได้บอกรับอาสา ลาภได้มาเกิดโทษ เสียประโยชน์ภายหลัง เร่งระวังทุกอย่างมี

ตกอุดรภูมิศุกร์ คงหายทุกข์โชคหลาย สุขสบายอยู่กับที่ อย่าได้หนีจากเคหา แม้ยาตราทิศอุดร สังวรระวังโอษฐ์ จะเกิดโทษเป็นความ เพื่อนเหยียดหยามดูหมิ่น อย่าจากถิ่นเดินทาง จะบาดหมางพวกพ้อง ทรัพย์สิ่งของใครฝาก อย่าออกปากรับไว้ ของนั้นไซร้ผิดศีลธรรม

          ...ธีรพร  เพชรกำแพง...
(คัดจากสมุดลายมือหลวงพ่อไพรวัลย์)

14 มกราคม 2556

สุริยยาตร์และมานัตต์ (ต้นฉบับหลวงวิศาลดรุณกร) ภาคคำนวณมานัตต์



ภาคคำนวณมานัตต์

ทำกำลังพระเคราะห์

          ถ้าจะทำกำลังพระเคราะห์ทั้ง ๗ พระองค์ คือ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระมฤตยู ท่านให้ตั้งจุลศักราชกำเนิดหรือจุลศักราชที่ต้องการจะทราบนั้นลงแล้วเอา ๖๑๐ ลบ เหลือเท่าใดเป็น "สรุปอัปป" ตราไว้
 แล้วตั้งมัธยมพระอาทิตย์ในวันที่ต้องการจะทราบกำลังพระเคราะห์นั้นลง แล้วเอา ๒๓ ลบลิปดา เหลือเท่าใดเป็น "มัธยมรวิ" ตราไว้
 แล้วจึงตั้งสรุปอัปปลง เอา ๑๒ คูณให้เป็นราศี แล้วเอาจำนวนราศีในมัธยมรวิบวก เอา ๓๐ คูณให้เป็นองศา
 แล้วเอาองศามัธยมรวิบวกเข้า เอา ๖๐ คูณให้เป็นลิปดา
 แล้วเอาลิปดาในมัธยมรวิบวกเข้า เป็น "กำลังพระเคราะห์" ทั้ง ๗ พระองค์แล

ทำมัธยมพระอังคาร

ถ้าจะทำมัธยมพระอังคาร ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน
                  - ฐานบน เอา ๒ หาร ลัพธ์นั้นชื่อว่าปฐมลัพธ์ตราไว้
                  - ฐานต่ำเอา ๑๖ คูณ แล้วเอา ๕๐๕ หาร ลัพธ์นั้นชื่อทุติยลัพธ์ตราไว้
แล้วเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา
แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๓ | | ๒๐           ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระอังคาร"

ทำสัมผุสพระอังคาร

ถ้าจะทำสัมผุสพระอังคาร ให้ตั้ง มัธยมพระอังคาร ลง          จึงเอาอุจจนี ๗ | | ๐ ลบ "มัธยมพระอังคาร" แล้วดูเศษใน "ราศี" เป็นเกณฑ์
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักร (สามราศี) คือ ๒ ราศี ๒๙ องศา ๖๐ ลิปดา ( ๒ | ๒๙ | ๖๐ ) ลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรีปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
                    ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น    แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
          แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน       แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
          แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๔๕ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระอังคาร" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระอังคาร เป็น "มนทสัมผุส"
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระอังคาร เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา มัธยมรวิ มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวน "ราศี" เป็นเกณฑ์
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี  แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ"
          แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา   แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๔ คูณทั้ง ๒ ฐาน ฐานต่ำนั้นเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานบน
          แล้วเอา ๑๕ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า แล้วเอา ๑๕ มาหารอีก ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
          จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสตั้งเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมา ลบ ซึ่งมนทสัมผุส
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลมา บวก ด้วยมนทสัมผุส
          ได้ลัพธ์ เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระอังคาร" แล

ทำมัธยมพระพุธ

ถ้าจะทำมัธยมพระพุธ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๗ คูณ แล้วเอา ๔๖ หาร ลัพธ์ชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา ๔ คูณ ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ตราไว้ แล้วเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๕ | ๒๗ | ๒๒       ได้ลัพธ์เท่าใดเป็น "มัธยมพระพุธ" แล

ทำสัมผุสพระพุธ

ถ้าจะทำสัมผุสพระพุธ ให้ตั้ง มัธยมรวิใ นวันที่ประสงค์นั้นลง เอาอุจจนี ๗ | ๑๐ | ๐ มาลบ "มัธยมรวิ" ได้ลัพธ์เท่าใด ดูจำนวนในราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
          แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
          แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้ง เฉท ๑๐๐ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้ง มัธยมรวิ ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส"
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมพระพุธ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี  แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น    แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
          แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา   แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
เอาเกณฑ์ ๒๑ | ๐ บวกด้วยสิงฆผล เป็น "สัมผุสพยาสน์" แล
ตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้ว ในตอนนี้
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณ บวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
ตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้งมนทสัมผุสกับมหาผลมนทสัมผุสเทียบกันดู พิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระพุธ" แล

ทำมัธยมพระพฤหัสบดี

ถ้าจะทำมัธยมพระพฤหัสบดี ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา ๑๒ หาร ลัพธ์ชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา ๑๐๓๒ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน แล้วเอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๗ | ๒๘ | ๑๗ ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระพฤหัสบดี"

ทำสัมผุสพระพฤหัสบดี

ถ้าจะทำสัมผุสพระพฤหัสบดี ให้ตั้ง มัธยมพระพฤหัสบดี ลง จึงเอาอุจจนี ๕ | ๒๒ | ๐ ลบ "มัธยมพระพฤหัสบดี" แล้วดูเศษในราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
          แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
          แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๙๒ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระพฤหัส" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระพฤหัส เป็น "มนทสัมผุส"
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระพฤหัส เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี  แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น    แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น    แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
          แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย         แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
          แล้วให้ตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๓ คูณทั้ง ๒ ฐาน ฐานที่หนึ่งเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกด้วยฐานที่สอง          แล้วเอา ๗ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษเอา ๖๐ คูณบวกเศษที่อยู่ฐานที่หนึ่ง แล้วเอา ๗ มาหารอีกเล่า ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
          จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระพฤหัสบดี" แล

ทำมัธยมพระศุกร์

ถ้าจะทำมัธยมพระศุกร์ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน แล้วเอา ๑๐ คูณทั้งสองฐาน ฐานบนเอา ๖ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา ๒๔๓ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ แล้วเอาทุติยลัพธ์ไปลบปฐมลัพธ์ เหลือเท่าใดเอามาตั้งลง แล้วเอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา ไปบวกด้วย อุจจนี ๖ | | ๒๔ ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระศุกร์"

ทำสัมผุสพระศุกร์

ถ้าจะทำสัมผุสพระศุกร์ ให้ตั้ง มัธยมรวิ ในวันที่ประสงค์นั้นลง เอาอุจจนี ๒ | ๒๐ | ๐ มาลบ "มัธยมรวิ" ได้ลัพธ์เท่าใด ดูจำนวนในราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา     แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
          แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
          แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๓๒๐ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้ง "มัธยมรวิ" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วยมัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส"
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบมัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมพระศุกร์" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศีแล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี  แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
          แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา   แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
เอาเกณฑ์ ๑๑ | ๐ บวกด้วยสิงฆผล เป็น "สัมผุสพยาสน์" แล
          แล้วให้ตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณ บวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
ตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้งมนทสัมผุสกับมหาผลมนทสัมผุสเทียบกันดู พิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระศุกร์" แล

ทำมัธยมพระเสาร์

ถ้าจะทำมัธยมพระเสาร์ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๓๐ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ก่อน ฐานต่ำเอา ๖ คูณเอา ๑๐๐๐๐ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์   จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์อีก เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๖ | ๑๙ | ๔ ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระเสาร์"

ทำสัมผุสพระเสาร์

ถ้าจะทำสัมผุสพระเสาร์ ให้ตั้ง มัธยมพระเสาร์ ลง    จึงเอาอุจจนี ๘ | | ๐ ลบ "มัธยมพระเสาร์" แล้วดูเศษในราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี  แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
          แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
          แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๖๓ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระเสาร์" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระเสาร์ เป็น "มนทสัมผุส"
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระเสาร์ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
          แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา   แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๗ คูณทั้ง ๒ ฐาน ฐานที่หนึ่ง นั้นเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานที่สอง       แล้วเอา ๖ หาร ลัพธ์ตราไว้ เศษนั้นเอา ๖๐ คูณ บวกเศษที่อยู่ฐานทีหนึ่งเข้า แล้วเอา ๖ มาหารอีกเล่า ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
          จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระเสาร์" แล

ทำมัธยมพระราหู

ถ้าจะทำมัธยมพระราหู ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๒๐ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ เศษตัดออกเสีย ฐานต่ำเอา ๒๖๕ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาทุติยลัพธ์บวกเข้ากับปฐมลัพธ์     ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์ เศษเป็นราศี ได้เศษเป็นราศี องศา ลิปดาเท่าใด เป็น "มัธยมพระราหู"

ทำสัมผุสพระราหู

ถ้าจะทำสัมผุสพระราหู ให้ตั้งเกณฑ์ ๘ | ๑๒ | ๓๐ ลง แล้วเอา มัธยมพระราหู ในวันที่จะต้องประสงค์มาลบเกณฑ์ เหลือเท่าใดเป็น "สัมผุสพระราหู" แล

ทำมัธยมพระเกตุ

ถ้าจะทำสัมผุสพระเกตุ ให้ตั้ง หรคุณกำเนิด ลงแล้วเอา ๓๔๔ ลบ เหลือเท่าใดเอา ๖๗๙ หาร มีเศษเท่าใด เศษนั้นเป็นพลพระเกตุ ตราไว้ เอา ๑๒ คูณ เอา ๖๗๙ หาร ลัพธ์เป็นราศี เศษที่เหลือเอา ๓๐ คูณ แล้วเอา ๖๗๙ หาร ลัพธ์เป็นองศา เศษที่เหลือตอนนี้เอา ๖๐ คูณ เอา ๖๗๙ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา      ได้ลัพธ์เป็นราศี องศา ลิปดา เท่าใด เป็น "มัธยมพระเกตุ"

ทำสัมผุสพระเกตุ

ถ้าจะทำสัมผุสพระเกตุ ให้ตั้งอุจจนี ๑๑ | ๒๙ | ๖๐ ลง แล้วเอา มัธยมพระเกตุ ในวันที่ต้องประสงค์มาลบ เหลือเท่าใดเป็น "สัมผุสพระเกตุ" แล

ทำมัธยมพระมฤตยู

ถ้าจะทำมัธยมพระมฤตยู ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๘๔ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ก่อน ฐานต่ำเอา ๗๒๒๔ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน แล้วเอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์อีก เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๙ | | ๑๗      ได้ลัพธ์เท่าใดเป็น "มัธยมพระมฤตยู"

ทำสัมผุสพระมฤตยู

ถ้าจะทำสัมผุสพระมฤตยู ให้ตั้ง มัธยมพระมฤตยู ลง จึงเอาอุจจนี ๔ | | ๐ ลบ "มัธยมพระมฤตย" แล้วดูเศษในราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรีปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ" ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
          แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
          แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๖๖๔ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
          แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระมฤตยู" ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอาผลบวกด้วย มัธยมพระมฤตยู เป็น "มนทสัมผุส"
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ มัธยมพระมฤตยู เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา "มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
          ถ้าเกณฑ์  ๐, , ๒ ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
          ถ้าเกณฑ์  ๓, , ๕ ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๖, , ๘ ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
          ถ้าเกณฑ์  ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
          แล้วตั้ง ภุชที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี  แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี ถ้าเห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
          ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
          ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
          แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา   แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
          แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐ ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๒๑ คูณทั้ง ๒ ฐาน ฐานที่หนึ่ง นั้นเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานที่สอง แล้วเอา ๔๙ หาร ลัพธ์ตราไว้ เศษเอา ๖๐ คูณบวกเศษที่อยู่ฐานที่หนึ่ง เอา ๔๙ มาหารอีก ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น "สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
          ถ้าเป็น "โกฏิรนัง" เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
          ถ้าเป็น "โกฏิธนัง" เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
          จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
          ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
          ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระมฤตยู" แล d


อ้างอิงจาก
คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน ฉบับสมบูรณ์
หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร)