ภาคคำนวณมานัตต์
ทำกำลังพระเคราะห์
ถ้าจะทำกำลังพระเคราะห์ทั้ง ๗ พระองค์ คือ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี
พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระมฤตยู
ท่านให้ตั้งจุลศักราชกำเนิดหรือจุลศักราชที่ต้องการจะทราบนั้นลงแล้วเอา ๖๑๐ ลบ
เหลือเท่าใดเป็น "สรุปอัปป" ตราไว้
แล้วตั้งมัธยมพระอาทิตย์ในวันที่ต้องการจะทราบกำลังพระเคราะห์นั้นลง
แล้วเอา ๒๓ ลบลิปดา เหลือเท่าใดเป็น "มัธยมรวิ" ตราไว้
แล้วจึงตั้งสรุปอัปปลง เอา ๑๒ คูณให้เป็นราศี แล้วเอาจำนวนราศีในมัธยมรวิบวก
เอา ๓๐ คูณให้เป็นองศา
แล้วเอาองศามัธยมรวิบวกเข้า
เอา ๖๐ คูณให้เป็นลิปดา
แล้วเอาลิปดาในมัธยมรวิบวกเข้า
เป็น "กำลังพระเคราะห์" ทั้ง ๗ พระองค์แล
ทำมัธยมพระอังคาร
ถ้าจะทำมัธยมพระอังคาร ให้ตั้ง
กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน
- ฐานบน เอา ๒ หาร
ลัพธ์นั้นชื่อว่าปฐมลัพธ์ตราไว้
- ฐานต่ำเอา ๑๖ คูณ แล้วเอา ๕๐๕
หาร ลัพธ์นั้นชื่อทุติยลัพธ์ตราไว้
แล้วเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน
เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา
แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๓ | ๐
| ๒๐ ได้ลัพธ์เท่าใด
เป็น "มัธยมพระอังคาร"
ทำสัมผุสพระอังคาร
ถ้าจะทำสัมผุสพระอังคาร ให้ตั้ง
มัธยมพระอังคาร ลง จึงเอาอุจจนี ๗ | ๔
| ๐ ลบ "มัธยมพระอังคาร" แล้วดูเศษใน "ราศี"
เป็นเกณฑ์
ถ้าเกณฑ์
๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักร (สามราศี) คือ ๒ ราศี ๒๙ องศา ๖๐
ลิปดา ( ๒ | ๒๙ | ๖๐ ) ลง เอาภุชรณังลบ
เหลือเท่าใด เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์
๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์
๖, ๗, ๘
ชื่อตรีปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑ ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี
เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง
“ภุช” ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู
"ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี
๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒
คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น
๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔ แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ"
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา
ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา
๑ บวกเข้าที่องศาเป็น "มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง
เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒
หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท
๔๕ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน
บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐
เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระอังคาร"
ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอาผลบวกด้วย มัธยมพระอังคาร เป็น "มนทสัมผุส"
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ
มัธยมพระอังคาร เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา มัธยมรวิ มาลบ
ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวน
"ราศี" เป็นเกณฑ์
ถ้าเกณฑ์
๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์
๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"สิงฆโกฏิ"
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม
ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น
"สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย
ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา ๓
หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า
ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๔ คูณทั้ง ๒ ฐาน
ฐานต่ำนั้นเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานบน
แล้วเอา ๑๕ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้
เศษมีเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า แล้วเอา ๑๕
มาหารอีก ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น
"สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง
ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท"
ตราไว
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ
ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี
นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสตั้งเทียบกันดู
แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมา
ลบ ซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง" เอามหาผลมา
บวก ด้วยมนทสัมผุส
ได้ลัพธ์ เป็น
"มหาสัมผุสแห่งพระอังคาร" แล
ทำมัธยมพระพุธ
ถ้าจะทำมัธยมพระพุธ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์
ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๗ คูณ แล้วเอา ๔๖ หาร ลัพธ์ชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา ๔
คูณ ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ตราไว้ แล้วเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน เอา ๖๐
หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์
เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๕ | ๒๗
| ๒๒ ได้ลัพธ์เท่าใดเป็น
"มัธยมพระพุธ" แล
ทำสัมผุสพระพุธ
ถ้าจะทำสัมผุสพระพุธ ให้ตั้ง มัธยมรวิใ
นวันที่ประสงค์นั้นลง เอาอุจจนี ๗ | ๑๐ | ๐ มาลบ
"มัธยมรวิ" ได้ลัพธ์เท่าใด ดูจำนวนในราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา
๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ"
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา
๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา
ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น
"มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง
เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒
หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้ง เฉท ๑๐๐ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู
"โกฏิ"
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน
บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง
เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา
แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง มัธยมรวิ ลง พิจารณาดู
"ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอาผลบวกด้วย มัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส"
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ
มัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา
"มัธยมพระพุธ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ
เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา
๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง
"โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร
ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา
๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม
ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น
"สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง
อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา
๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า
ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
เอาเกณฑ์
๒๑ | ๐ บวกด้วยสิงฆผล เป็น "สัมผุสพยาสน์" แล
ตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง
ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้ว ในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท"
ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณ บวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
ตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ
ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี
นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้งมนทสัมผุสกับมหาผลมนทสัมผุสเทียบกันดู
พิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระพุธ" แล
ทำมัธยมพระพฤหัสบดี
ถ้าจะทำมัธยมพระพฤหัสบดี ให้ตั้ง
กำลังพระเคราะห์ ลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา ๑๒ หาร ลัพธ์ชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ ฐานต่ำเอา
๑๐๓๒ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน แล้วเอา ๖๐
หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์
เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๗ | ๒๘
| ๑๗ ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น "มัธยมพระพฤหัสบดี"
ทำสัมผุสพระพฤหัสบดี
ถ้าจะทำสัมผุสพระพฤหัสบดี ให้ตั้ง
มัธยมพระพฤหัสบดี ลง จึงเอาอุจจนี ๕ | ๒๒ | ๐ ลบ
"มัธยมพระพฤหัสบดี" แล้วดูเศษในราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น
เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ"
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา
ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น
"มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง
เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒
หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท
๙๒ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง
เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น
"พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง
เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐
เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระพฤหัส"
ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอาผลบวกด้วย มัธยมพระพฤหัส เป็น "มนทสัมผุส"
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ
มัธยมพระพฤหัส เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา
"มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ
เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕ ชื่อทวิปทัง
เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง เอาโกฏิรณังมาลบ
เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร
ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร
ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม
ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา
๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วให้ตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา
แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓
มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๓ คูณทั้ง ๒ ฐาน
ฐานที่หนึ่งเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกด้วยฐานที่สอง แล้วเอา ๗ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษเอา ๖๐
คูณบวกเศษที่อยู่ฐานที่หนึ่ง แล้วเอา ๗ มาหารอีกเล่า ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน
ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น
"สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง
ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท"
ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ
ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี
นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู
แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
ถ้าเป็น "ภุชรนัง"
เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระพฤหัสบดี"
แล
ทำมัธยมพระศุกร์
ถ้าจะทำมัธยมพระศุกร์ ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์
ลงเป็น ๒ ฐาน แล้วเอา ๑๐ คูณทั้งสองฐาน ฐานบนเอา ๖ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์
ตราไว้ ฐานต่ำเอา ๒๔๓ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ แล้วเอาทุติยลัพธ์ไปลบปฐมลัพธ์
เหลือเท่าใดเอามาตั้งลง แล้วเอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร
เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์ เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา
ไปบวกด้วย อุจจนี ๖
| ๒ | ๒๔ ได้ลัพธ์เท่าใด เป็น
"มัธยมพระศุกร์"
ทำสัมผุสพระศุกร์
ถ้าจะทำสัมผุสพระศุกร์ ให้ตั้ง มัธยมรวิ
ในวันที่ประสงค์นั้นลง เอาอุจจนี ๒ | ๒๐ | ๐ มาลบ
"มัธยมรวิ" ได้ลัพธ์เท่าใด ดูจำนวนในราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา
แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ"
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา
๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา
ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น
"มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง
เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒
หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท
๓๒๐ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู "โกฏิ"
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง
เอา ๖๐ คูณราศี แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น
"พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง
เอา ๖๐ คูณฐานบน บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง
เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา
แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมรวิ" ลง
พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอาผลบวกด้วยมัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส"
ถ้าเป็น "ภุชรนัง"
เอาผลลบมัธยมรวิ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา
"มัธยมพระศุกร์" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา
แล้วจึงลบ เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นราศีแล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา
๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง
"โกฏิ" ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม
ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น
"สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง
อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา
๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า
ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า "สิงฆผล" ตราไว้
เอาเกณฑ์ ๑๑ | ๐ บวกด้วยสิงฆผล เป็น
"สัมผุสพยาสน์" แล
แล้วให้ตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง
ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท"
ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณ บวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
ตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ
ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี
นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้งมนทสัมผุสกับมหาผลมนทสัมผุสเทียบกันดู
พิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
ถ้าเป็น "ภุชรนัง"
เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระศุกร์" แล
ทำมัธยมพระเสาร์
ถ้าจะทำมัธยมพระเสาร์ ให้ตั้ง
กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๓๐ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ก่อน
ฐานต่ำเอา ๖ คูณเอา ๑๐๐๐๐ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร
เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์อีก เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี
องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๖ | ๑๙ | ๔ ได้ลัพธ์เท่าใด
เป็น "มัธยมพระเสาร์"
ทำสัมผุสพระเสาร์
ถ้าจะทำสัมผุสพระเสาร์ ให้ตั้ง มัธยมพระเสาร์
ลง จึงเอาอุจจนี ๘ | ๗
| ๐ ลบ "มัธยมพระเสาร์" แล้วดูเศษในราศีเป็น
"เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น
เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ"
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา
ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น
"มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง
เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒
หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๖๓ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู
"โกฏิ"
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน
บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง เอาพลหารมาหาร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา แล้วลง ๐
เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระเสาร์"
ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอาผลบวกด้วย มัธยมพระเสาร์ เป็น "มนทสัมผุส"
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ
มัธยมพระเสาร์ เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา
"มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ
เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น
เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"สิงฆโกฏิ" ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม
ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น
"สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย ให้เหลือแต่ราศีกับองศา
แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐
คูณ แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า
"สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง
เอา ๗ คูณทั้ง ๒ ฐาน ฐานที่หนึ่ง นั้นเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นฐานที่สอง แล้วเอา ๖ หาร
ลัพธ์ตราไว้ เศษนั้นเอา ๖๐ คูณ บวกเศษที่อยู่ฐานทีหนึ่งเข้า แล้วเอา ๖
มาหารอีกเล่า ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น
"สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง
ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท"
ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ
ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี
นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู
แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
ถ้าเป็น "ภุชรนัง"
เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระเสาร์" แล
ทำมัธยมพระราหู
ถ้าจะทำมัธยมพระราหู ให้ตั้ง กำลังพระเคราะห์
ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๒๐ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ เศษตัดออกเสีย
ฐานต่ำเอา ๒๖๕ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาทุติยลัพธ์บวกเข้ากับปฐมลัพธ์ ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา
ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒ หารลัพธ์ เศษเป็นราศี ได้เศษเป็นราศี
องศา ลิปดาเท่าใด เป็น "มัธยมพระราหู"
ทำสัมผุสพระราหู
ถ้าจะทำสัมผุสพระราหู ให้ตั้งเกณฑ์ ๘ | ๑๒
| ๓๐ ลง แล้วเอา มัธยมพระราหู ในวันที่จะต้องประสงค์มาลบเกณฑ์
เหลือเท่าใดเป็น "สัมผุสพระราหู" แล
ทำมัธยมพระเกตุ
ถ้าจะทำสัมผุสพระเกตุ ให้ตั้ง หรคุณกำเนิด ลงแล้วเอา
๓๔๔ ลบ เหลือเท่าใดเอา ๖๗๙ หาร มีเศษเท่าใด เศษนั้นเป็นพลพระเกตุ ตราไว้ เอา ๑๒
คูณ เอา ๖๗๙ หาร ลัพธ์เป็นราศี เศษที่เหลือเอา ๓๐ คูณ แล้วเอา ๖๗๙ หาร
ลัพธ์เป็นองศา เศษที่เหลือตอนนี้เอา ๖๐ คูณ เอา ๖๗๙ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา ได้ลัพธ์เป็นราศี องศา ลิปดา เท่าใด เป็น
"มัธยมพระเกตุ"
ทำสัมผุสพระเกตุ
ถ้าจะทำสัมผุสพระเกตุ ให้ตั้งอุจจนี ๑๑ | ๒๙
| ๖๐ ลง แล้วเอา มัธยมพระเกตุ ในวันที่ต้องประสงค์มาลบ
เหลือเท่าใดเป็น "สัมผุสพระเกตุ" แล
ทำมัธยมพระมฤตยู
ถ้าจะทำมัธยมพระมฤตยู ให้ตั้ง
กำลังพระเคราะห์ ลงเป็น ๒ ฐาน ฐานบนเอา ๘๔ หาร ลัพธ์นั้นชื่อปฐมลัพธ์ ตราไว้ก่อน
ฐานต่ำเอา ๗๒๒๔ หาร ลัพธ์ชื่อทุติยลัพธ์ จึงเอาปฐมลัพธ์กับทุติยลัพธ์บวกเข้าด้วยกัน
แล้วเอา ๖๐ หาร เศษเป็นลิปดา ลัพธ์นั้นเอา ๓๐ หาร เศษเป็นองศา แล้วเอา ๑๒
หารลัพธ์อีก เศษเป็นราศี จึงเอาเศษที่เป็นราศี องศา ลิปดา บวกด้วยอุจจนี ๙ | ๑
| ๑๗ ได้ลัพธ์เท่าใดเป็น
"มัธยมพระมฤตยู"
ทำสัมผุสพระมฤตยู
ถ้าจะทำสัมผุสพระมฤตยู ให้ตั้ง มัธยมพระมฤตยู
ลง จึงเอาอุจจนี ๔ | ๔
| ๐ ลบ "มัธยมพระมฤตย" แล้วดูเศษในราศีเป็น
"เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรีปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วพิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"มนทภุช" ตราไว้
จึงตั้ง "โกฏิ"
ที่เป็นผลลัพธ์นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
จึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี
แล้วพิจารณาดูองศาและราศี เห็นองศามีจำนวนเท่าใด
เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา
๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "มนทโกฏิ"
แล้วให้อัฑฒาธิกรรมฐานลิปดา
ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย คงไว้แต่ราศีกับองศา ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไป ให้ตัดฐานลิปดาออกเหมือนกัน แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศาเป็น
"มนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
แล้วให้ตั้งมนทโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วนี้ลง
เอา ๒ หารฐานบน ลัพธ์เป็นองศา ถ้ามีเศษเอา ๖๐ คูณแล้วบวกฐานต่ำเข้าด้วย แล้วเอา ๒
หาร ลัพธ์เป็นลิปดา องศาและลิปดานี้เป็น "โกฏิผล" ตราไว้
ตั้งเฉท ๖๖๔ | ๐ อันนี้ลง แล้วพิจารณาดู
"โกฏิ"
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาโกฏิผลมาบวกด้วยเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท"
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาโกฏิผลมาลบซึ่งเฉท ลัพธ์เป็น "มนทเฉท" ตราไว้
แล้วจึงตั้งมนทภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
แล้วบวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๖๐ คูณฐานบน
บวกฐานต่ำเข้าด้วย เป็น "พลหาร" ตราไว้
จึงตั้งพลอักษรลง
เอาพลหารมาหาร ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดา
แล้วลง ๐ เป็นราศีชื่อว่า "ผล" ตราไว้
แล้วให้ตั้ง "มัธยมพระมฤตยู"
ลง พิจารณาดู "ภุช" ที่ทำมาแล้ว
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอาผลบวกด้วย มัธยมพระมฤตยู เป็น "มนทสัมผุส"
ถ้าเป็น "ภุชรนัง" เอาผลลบ
มัธยมพระมฤตยู เป็น "มนทสัมผุส" ตราไว้
แล้วตั้งมนทสัมผุสลง เอา
"มัธยมรวิ" มาลบ ถ้าลบมิได้ปลงราศีลงมา ๑ ราศีเป็น ๓๐ องศา แล้วจึงลบ
เหลือเท่าใด ให้ดูที่จำนวนราศีเป็น "เกณฑ์"
ถ้าเกณฑ์ ๐, ๑, ๒
ชื่อเอกปทัง เป็นภุชรณัง แล้วให้ตั้งตรีจักรลง เอาภุชรณังลบ เหลือเท่าใด
เป็นโกฏิธนัง ตราไว้
ถ้าเกณฑ์ ๓, ๔, ๕
ชื่อทวิปทัง เอา ๓ ลบในราศี เหลือเท่าใดชื่อว่าโกฏิรณัง แล้วจึงตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิรณังมาลบ เหลือเท่าใดเป็นภุชรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๖, ๗, ๘
ชื่อตรัปทัง เอา ๖ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นภุชธนัง ตั้งตรีจักรลง เอาภุชธนังมาลบ
เศษที่เหลือชื่อว่าโกฏิรณัง
ถ้าเกณฑ์ ๙, ๑๐, ๑๑
ชื่อจตุปปทัง เอา ๙ มาลบราศี เหลือเท่าใดเป็นโกฏิธนัง ตั้งตรีจักรลง
เอาโกฏิธนังมาลบ เศษชื่อว่าภุชธนัง
แล้วตั้ง “ภุช”
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วจึงเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
ถ้าเห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น
"สิงฆภุช" ตราไว้
แล้วตั้ง "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้นั้นลง ให้พิจารณาดู "ราศี"
ถ้าราศีเป็น ๐ ให้เอา ๘ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศี ๒ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๗ แล้วเอา ๒ คูณองศาและลิปดา
ถ้าราศีเป็น ๑ ให้เปลี่ยนราศีนั้นเป็น ๔
แล้วเอา ๖ คูณองศาและลิปดา
แล้วเอา ๖๐ หารลิปดา เศษคงไว้ฐานเดิม
ลัพธ์บวกขึ้นองศา แล้วเอา ๖๐ หารองศา
เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี แล้วให้พิจารณาดูองศาและราศี
เห็นองศามีจำนวนเท่าใด เอาเงาบวกเข้าที่ลิปดามีจำนวนเท่านั้น เอาราศีเท่าใด
เอาเงาบวกที่องศาเท่านั้น แล้วเอา ๖๐ หาร ฐานลิปดาเศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นองศา
แล้วเอา ๖๐ หารองศา เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นราศี เป็น "สิงฆโกฏิ"
ตราไว้
แล้วให้พิจารณาดูอัฑฒาธิกรรม
ให้เหลือแต่ฐานราศีกับองศา ถ้าลิปดามีแต่ ๑ ถึง ๒๙ ให้ตัดลิปดาออกเสีย ถ้ามีแต่ ๓๐
ขึ้นไปให้ตัดฐานลิปดาออกเสีย แล้วเอา ๑ บวกเข้าที่องศา เป็น "สิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้ว"
ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง อัฑฒาธิกรรมเสีย
ให้เหลือแต่ราศีกับองศา แล้วเอา ๓ หารฐานบน ลัพธ์ตราไว้ เศษมีเอา ๖๐ คูณ
แล้วบวกฐานต่ำเข้า แล้วเอา ๓ มาหารอีกเล่า ลัพธ์เป็นลิปดาชื่อว่า
"สิงฆผล" ตราไว้
แล้วตั้งมนทเฉทลง เอา ๒๑ คูณทั้ง ๒ ฐาน ฐานที่หนึ่ง
นั้นเอา ๖๐ หาร เศษคงไว้ฐานเดิม ลัพธ์บวกขึ้นฐานที่สอง แล้วเอา ๔๙ หาร ลัพธ์ตราไว้
เศษเอา ๖๐ คูณบวกเศษที่อยู่ฐานที่หนึ่ง เอา ๔๙ มาหารอีก ลัพธ์ตราไว้ใต้ลัพธ์ก่อน
ชื่อว่า "มนทพยาสน์" แล
แล้วตั้งสิงฆผลลง เอามนทพยาสน์บวก เป็น
"สัมผุสพยาสน์" ตราไว้
แล้วตั้งสัมผุสพยาสน์ลงไว้ข้างหนึ่ง
ตั้งสิงฆโกฏิที่อัฑฒาธิกรรมแล้วลงข้างหนึ่ง แล้วให้พิจารณาดู "โกฏิ"
ที่ทำมาแล้วในตอนนี้
ถ้าเป็น "โกฏิรนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาลบสัมผุสพยาสน์
ถ้าเป็น "โกฏิธนัง"
เอาสิงฆโกฏิมาบวกด้วยสัมผุสพยาสน์
ลัพธ์ชื่อว่า "สิงฆสัมผุสเฉท"
ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆภุชลง เอา ๖๐ คูณราศี
บวกองศาเข้า แล้วเอา ๖๐ คูณบวกลิปดาเข้า ตกลัพธ์เป็น "พลอักษร" ตราไว้
แล้วตั้งสิงฆสัมผุสเฉทลง เอา ๖๐ คูณ
ฐานบนเอามาบวกด้วยฐานต่ำเป็น "พลหาร" ตราไว้
แล้วเอาพลอักษรออกตั้งเอาพลหารมาหารพลอักษร
ลัพธ์เป็นองศา เศษเอา ๖๐ คูณ เอาพลหารมาหารต่อไป ลัพธ์เป็นลิปดาลง ๐ เป็นราศี
นี้ชื่อว่า "มหาผล" ตราไว้
จึงเอามหาผลกับมนทสัมผุสเทียบกันดู
แล้วพิจารณาดู "ภุช" ที่กระทำในตอนหลังนี้
ถ้าเป็น "ภุชรนัง"
เอามหาผลมาลบซึ่งมนทสัมผุส
ถ้าเป็น "ภุชธนัง"
เอามหาผลบวกด้วยมนทสัมผุส
เป็น "มหาสัมผุสแห่งพระมฤตยู" แล d
อ้างอิงจาก
“คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐาน
ฉบับสมบูรณ์”
“หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น
สาริกบุตร)