4 เมษายน 2556

การหาหรคุณประสงค์จากคริสตศักราช


การหาหรคุณประสงค์จากคริสตศักราช
          กัลยาณมิตรอันเป็นที่รักทั้งหลาย ในโอกาสนี้เราจะได้กล่าวกันถึงเรื่องของการหาหรคุณประสงค์โดยการใช้คริสตศักราช ซึ่งมีสูตรการคำนวณที่แน่นอน เมื่อคำนวณออกมาแล้วเราจะได้ค่าหรคุณประสงค์ของคริสตศักราช ซึ่งคริสตศักราชนั้นมีมาอยู่ก่อนจุลศักราช ๒๓๓๑๔๒ วัน ฉะนั้นเมื่อเราหาหรคุณคริสตศักราชได้แล้ว จึงต้องลบด้วย ๒๓๓๑๔๒ เสียก่อน หรคุณที่ได้จึงจะเป็นหรคุณจุลศักราชในวันที่ประสงค์
สูตรการหาหรคุณประสงค์จากคริสตศักราช มีดังนี้
ตัวแปร
F = หรคุณประสงค์จากคริสตศักราช (๐.๐๐ น.)
H = หรคุณประสงค์จุลศักราช (H = F - ๒๓๓๑๔๒)
D = วันที่         M = เดือน       C = ปีคริสตศักราช
สูตร
F = [๓๖๕ x C + D + INT(๒๗๕ x M / )] + [ x INT(.+ / M) + INT(C / ) – INT(C / ๑๐๐) + INT(C / ๔๐๐) + ]

ตัวอย่างการคำนวณหรคุณประสงค์จุลศักราชจากคริสตศักราช
หาหรคุณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. ๑๙๘๗) เวลา ๐.๐๐ น.

สูตรวรรคแรก [๓๖๕ x C + D + INT(๒๗๕ x M / )]
๓๖๕ x ๑๙๘๗ = ๗๒๕๒๕๕
๗๒๕๒๕๕ + ๑๕ = ๗๒๕๒๗๐
๗๒๕๒๗๐ + ๒๔๔ = ๗๒๕๕๑๔ (INT(๒๗๕ x ( / ) = ๒๔๔))
ค่าจากสูตรวรรคแรก = ๗๒๕๕๑๔

สูตรวรรคสอง [ x INT(. + / M) + INT(C / ) – INT(C / ๑๐๐) + INT(C / ๔๐๐) + ]
x INT(. + ( / )) =
+ INT(๑๙๘๗ / ) = ๔๙๖
๔๙๖ – INT(๑๙๘๗ / ๑๐๐) = ๔๗๗
๔๗๗ + INT(๑๙๘๗ / ๔๐๐) = ๔๘๑
๔๘๑ + = ๔๘๓
ค่าจากสูตรวรรคสอง = ๔๘๓

หาค่าหรคุณประสงค์คริสตศักราช
F = ค่าจากสูตรวรรคแรก + ค่าจากสูตรวรรคสอง
F = ๗๒๕๕๑๔ + ๔๘๓
F = ๗๒๕๙๙๗
หาค่าหรคุณประสงค์จุลศักราช (H = F - ๒๓๓๑๔๒)
H = ๗๒๕๙๙๗ ๒๓๓๑๔๒
H = ๔๙๒๘๕๕
          ดังนั้น หรคุณประสงค์จุลศักราช จึงมีค่าเท่ากับ ๔๙๒๘๕๕ ณ เวลา ๐.๐๐ น. ของวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ (ค.ศ. ๑๙๘๗) เวลา ๐.๐๐ น.

หมายเหตุ : สาเหตุที่ต้องแบ่งสูตรเป็นวรรคแรกและวรรคสองนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณและได้ค่าหรคุณที่ถูกต้อง เพราะการคำนวณในคราวเดียวอาจทำให้ได้ค่าหรคุณที่ผิดพลาด

ธีรพร  เพชรกำแพง
๕ เมษายน ๒๕๕๖