สำนวนเดิมท่านว่า
พระ
๑ เป็นบริวาร มีลูกเมียมากแต่สอนยาก
พระ
๒ เป็นอายุ มีอายุยืนกว่าญาติ
พระ
๓ เป็นเดช มีเดชดังพระยาราชสีห์
พระ
๔ เป็นศรี มีทรัพย์มากดังเศรษฐี
พระ
๗ เป็นมูละ รูปไม่งาม
พระ
๕ เป็นอุตสาหะ มีความรู้ยิ่งกว่าผู้อื่น ทำอันใดมักเป็นคุณแก่ตน
พระ
๘ เป็นมนตรี มีลูกเมียข้าไทสอนยาก มักไม่เกรง
พระ
๖ เป็นกาลี จะมีหัวแหวนเป็นโทษแก่ตน ทำไร่นาค้าขายไม่สู้ดี มีของมักมีตำหนิ
สำนวนการตีความของ
ธีรพร เพชรกำแพง
พระ
๑ เป็นบริวาร การแสดงตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับบริบทพื้นฐานความเป็นอยู่ทั้งของตนเองและผู้ใกล้ชิด
พระ
๒ เป็นอายุ การใช้อารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อว่าถูกต้องในการดำเนินชีวิต
มีแรงปรารถนาต่อเป้าหมาย
พระ
๓ เป็นเดช กระตือรือร้นจริงจังในการกระทำต้องการผลสำเร็จที่รวดเร็ว เอาการเอางาน
พระ
๔ เป็นศรี ความสำเร็จราบรื่นจากความรู้ความคิดการวางแผนการกระทำ
การได้ผลประโยชน์จากมิตรภาพ
พระ
๗ เป็นมูละ การพิจารณาพื้นฐานความเป็นอยู่แล้วพยามปรับสร้างในสิ่งที่มีคุณค่าประโยชน์แท้จริงมากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก
หลักฐานฐานะดำเนินไปอย่างมั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับเวลา
พระ
๕ เป็นอุตสาหะ การพิจารณาไต่ตรองลำดับขั้นตอนการกระทำแล้วมุ่งดำเนินงานอย่างเป็นแบบแผน
ความสำเร็จตรงตามที่คาดหมายและได้ผลประโยชน์อีกหลายต่อ
พระ
๘ เป็นมนตรี การได้รับความสนับสนุนเพราะความเป็นที่นิยมหรือเป็นจุดสนใจ
การแสดงออกถึงความมั่นใจในการกระทำ ความสามารถในการดึงดูดโน้มน้าว มีความคิดพลิกแพลงแผลงประยุกต์แก้ไขสถานการณ์ได้ดี
การได้รับความสนับสนุนในประเด็นความคิดสร้างสรรค์(เป็นคราวๆไป)
พระ
๖ เป็นกาลี ขาดความยับยั้งชั่งใจ หลงกระแสคุณค่านิยม วางตัวไม่เหมาะสม
หมกมุ่นกามารมณ์ โลภ เจ้าเล่ห์มารยา ไว้ใจไม่ได้ ขาดความมั่นใจและพร่องความสามารถที่เคยมี
(เสียบริบทพื้นฐานทางด้านคุณค่าของชีวิต)
หมายเหตุ
: การพิจารณาสำนวนนี้วิเคราะห์จากเค้าโครงสร้างทางทักษาวิชาเดิม
คือ ความหมายทาง ดาว ธาตุ เรือนทักษา
ประยุกต์ให้เข้าระบบมัชฌิมาพยากรณ์ตามแบบฉบับสายวิชาของผู้เขียน
ธีรพร เพชรกำแพง
พฤศจิกายน ๒๕๕๕