4.คนที่เกิดวันพุธ
สำนวนเดิมท่านว่า
พระ
๔ เป็นบริวาร มีลูกเมียข้าคนนำลาภผลมาให้
พระ
๗ เป็นอายุ มีอายุไม่ใคร่ยืน เกิดโรคาพยาธิมาก
พระ
๕ เป็นเดชมีเดชเหมือนพระโพธิสัตว์ ใจบุญสุนทาน
พระ
๘ เป็นศรี ทรัพย์น้อยทำได้ไว้มิคง มักจับจ่าย ขึ้งโกรธ มักทำอันใดแต่พอตัว
พระ
๖ เป็นมูละ มีรูปงาม
พระ
๑ เป็นอุตสาหะ มีใจเร็ว มีทรัพย์ข้าวของมาก
พระ
๒ เป็นมนตรี มีลูกเมียข้าไทย่อมนำทรัพย์มาสู่ตน
พระ
๓ เป็นกาลี อาภัพมิตรสหาย เพื่อนฝูงมักเป็นศัตรูต่อตน
สำนวนการตีความของ
ธีรพร เพชรกำแพง
พระ
๔ เป็นบริวาร การใช้ปฏิภาณไหวพริบ,ทักษะการพูดสื่อสารแสดงออกกับบุคคลใกล้ตัว
การแสดงเจตนาต่อผู้แวดล้อม
พระ
๗ เป็นอายุ การใช้ชีวิตตามรูปแบบ,แบบแผน,มาตรฐานที่ตนเองวางไว้อย่างเคร่งครัด
การดำเนินชีวิตที่เป็นขั้นเป็นตอน
พระ
๕ เป็นเดช ใช้ความสามารถเชิงเหตุผลที่ต้องได้ประโยชน์ต่อยอดเพื่อขยับขยายความพัฒนาต่อไป
พระ
๘ เป็นศรี ความสำเร็จจากความสามารถรอบตัว เป็นที่นิยมในกลุ่มคณะ
รู้จักเชื่อมโยงเครือข่ายปรับประยุกต์ให้ผลสำเร็จนั้นเพิ่มพูนขยายมากขึ้น
พระ
๖ เป็นมูละ การมองพื้นฐานความเป็นชีวิตแล้วประเมินคุณค่าเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าขึ้นเรื่อยๆ
การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่นิยมชมชอบมากกว่าเหตุผล
พระ
๑ เป็นอุตสาหะ ความเพียรพยายาม มุ่งมั่น กระตือรือร้นในการงาน ยึดมั่นเชื่อมั่นในความคิดการกระทำของตนเอง
พระ
๒ เป็นมนตรี การได้รับความสนับสนุนเพราะเป็นที่ไว้วางใจในความมั่นคงไม่ผันแปร
จริงใจต่อมิตรภาพ
พระ
๓ เป็นกาลี เกียจคร้าน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ บุ่มบ่ามไม่เป็นเรื่อง
หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว กระทำสิ่งใดไม่เป็นผล (เสียบริบทพื้นฐานทางด้านการกระทำ)
...สำหรับท่านที่ใช้
“วันพุธกลางคืนเป็นวารราหู” นั้น
ในต้นตำราเดิมท่านมิได้กล่าวถึงสำนวนเดิมไว้ จึงใคร่ขอยกสำนวนของผู้เขียนไว้
เพราะเห็นมีผู้ประสงค์ใช้กันอยู่ ดังนี้...
สำนวนการตีความของ
ธีรพร เพชรกำแพง (กรณีใช้วันพุธกลางคืนเป็นวารราหู)
พระ
๘ เป็นบริวาร...การเชื่อมโยงตนเองเข้ากับผู้อื่นเพื่อกระทำการเป็นหมู่คณะ
มีมิตรภาพ สามารถชักจูงและโน้มน้าวให้ผู้อื่นเชื่อถือ
พระ
๖ เป็นอายุ...การใช้ชีวิตเชิงตัดสินคุณค่าในสิ่งที่เข้ามากระทบทั้งวัตถุและจิตใจ
มีทั้งความพึงใจและไม่พึงใจ
พระ
๑ เป็นเดช...มุ่งมั่นแสดงตนเป็นศูนย์กลางในการกระทำกิจต่างๆอย่างเด่นชัด
พระ
๒
เป็นศรี...ความสำเร็จอันมาจากความเชื่อมั่นในความคิดที่ถูกต้องและความปรารถนาที่แรงกล้า
ราบรื่น สมบูรณ์พร้อม
พระ
๓ เป็นมูละ...การมุ่งสร้างการกระทำสั่งสมไว้เป็นผลสืบเนื่องเพื่อให้เกิดปัจจัยพื้นฐานต่างๆของชีวิตมาแต่เดิม
พระ
๔ เป็นอุตสาหะ...การใช้ความรู้ความสามารถและปฏิภาณไหวพริบประดุจพรสวรรค์ในการทำงาน
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สามารถควบคุมและมุ่งผลสำเร็จของงานได้อย่างลงตัว
พระ
๗ เป็นมนตรี...การได้รับความสนับสนุนเพราะมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ไม่วางธุระ
คิดพิจารณารอบคอบรอบด้าน ตรึกตรองหาเหตุผลประกอบ ซื่อสัตย์
เป็นที่ไว้วางใจในตัวตนเฉพาะตามเอกลักษณ์ การได้รับการสนับสนุนในระยะยาว
พระ
๕ เป็นกาลี...ขาดความยั้งคิด ไร้ซึ่งเหตุผล ควบคุมตนเองไม่ได้ อวดตัวอวดฉลาด
ชั่วดีรู้หมดแต่อดทำไม่ได้ งมงายไร้สาระ พล่ามในสิ่งไม่เป็นแก่นสาร
(เสียบริบทพื้นฐานทางด้านพัฒนาความก้าวหน้า)
หมายเหตุ
: การพิจารณาสำนวนนี้วิเคราะห์จากเค้าโครงสร้างทางทักษาวิชาเดิม
คือ ความหมายทาง ดาว ธาตุ เรือนทักษา
ประยุกต์ให้เข้าระบบมัชฌิมาพยากรณ์ตามแบบฉบับสายวิชาของผู้เขียน
ธีรพร เพชรกำแพง
พฤศจิกายน ๒๕๕๕