5.คนที่เกิดวันพฤหัสบดี
สำนวนเดิมท่านว่า
พระ
๕ เป็นบริวาร มีผู้คนลูกเมียช้างม้ามาก ประกอบไปด้วยความสุข
พระ
๘ เป็นอายุ มักเกิดโรคมาก
พระ
๖ เป็นเดช จะมีศักดานุภาพ ดังพระยาอุศุภราช
พระ
๑ เป็นศรี จะมีทรัพย์มากแต่มักเสียหาย
พระ
๒ เป็นมูละ จะมีรูปงามชอบใจคนทั้งหลาย มีเมียหลาย
พระ
๓ เป็นอุตสาหะ ทำอันใดมักไถล
พระ
๔ เป็นมนตรี จะมีลูกลูกเมียข้าไทดี
พระ
๗ เป็นกาลี ร้ายนัก ญาติพี่น้องมักเป็นศัตรู
สำนวนการตีความของ
ธีรพร เพชรกำแพง
พระ
๕ เป็นบริวาร การแสดงหลักเหตุผลเพื่อความเข้าใจตนเองและคนใกล้ตัว พยายามนำพาความพัฒนามาสู่
พระ
๘ เป็นอายุ การใช้ชีวิตแบบเชื่อมโยงปรับประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์
การใช้หัวคิดได้รอบด้าน ฉลาดในการเอาตัวรอดและครองตน
พระ
๖ เป็นเดช นำทักษะความคล่องตัวในการกระทำการหลายด้านมาใช้อย่างได้ผล
มีหัวคิดปรับประยุกต์เพื่อความราบรื่น
พระ
๑ เป็นศรี ความสำเร็จที่โดดเด่นโดยการบริหารจัดการของตนเอง เป็นที่นิยมพอใจ
เจริญก้าวหน้าในกลุ่มคน
พระ
๒ เป็นมูละ การดูแลแก้ไขปกป้องรักษาปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่ให้คงสภาพ
อนุรักษ์นิยมในฐานะความเป็นอยู่
พระ
๓ เป็นอุตสาหะ การมุ่งกระทำมุ่งแสวงหาอย่างตั้งใจเอาจริงเอาจัง มีความขยันตื่นตัวในการงาน
ชอบเผชิญความเสี่ยงความท้าทายกับการงาน
พระ
๔ เป็นมนตรี การได้รับความสนับสนุนเพราะบุกคลิกภาพ สติปัญญาไหวพริบ
การสื่อสารแสดงออกที่โดดเด่นคล่องแคล่ว
พระ
๗ เป็นกาลี ขาดความรอบคอบ สูญเสียแบบแผนชีวิต วิตกกังวล เครียดจัด ฟุ้งซ่าน
เฉื่อยชา ไม่น่าไว้วางใจ เสียสติสัมปชัญญะ เก็บกดแล้วมักกระทำการแปลกๆ
ตอกย้ำความล้มเหลว (เสียบริบทพื้นฐานทางด้านโครงสร้างชีวิต)
หมายเหตุ
: การพิจารณาสำนวนนี้วิเคราะห์จากเค้าโครงสร้างทางทักษาวิชาเดิม
คือ ความหมายทาง ดาว ธาตุ เรือนทักษา ประยุกต์ให้เข้าระบบมัชฌิมาพยากรณ์ตามแบบฉบับสายวิชาของผู้เขียน
ธีรพร เพชรกำแพง
พฤศจิกายน ๒๕๕๕