3.คนที่เกิดวันอังคาร
สำนวนเดิมท่านว่า
พระ
๓ เป็นบริวาร มีลูกเมียข้าคนย่อมรู้หลัก ปากกล้าดี
พระ
๔ เป็นอายุ มีอายุยืนกว่าญาติ
พระ
๗ เป็นเดช จะมีเดชดังพญาหนุมาน
พระ
๕ เป็นศรี จะมีทรัพย์และความรู้มาก
พระ
๘ เป็นมูละ มีรูปมิสู้งาม เดินมักก้มหน้า
พระ
๖ เป็นอุตสาหะ เป็นช่างดีมีทรัพย์มาก
พระ
๑ เป็นมนตรี มีข้าคนมักเป็นศัตรู
พระ
๒ เป็นกาลี ทำไร่นาค้าขายมิสู้ดี ได้แต่พอกิน
สำนวนการตีความของ
ธีรพร เพชรกำแพง
พระ
๓ เป็นบริวาร การกระตุ้นขับเคลื่อนตนเองและผู้แวดล้อมใกล้ตัวให้มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ
พระ
๔ เป็นอายุ การเรียนรู้,เข้าใจและคล่องตัวในการดำเนินชีวิต รู้หลักการเอาตัวรอดที่ดี
ประยุกต์ความเป็นอยู่
พระ
๗ เป็นเดช มุ่งมั่นกระทำต่อเนื่องไม่ลดละ เอาการเอางาน หนักแน่น อดทน
มีความรับผิดชอบในหน้าที่
พระ
๕ เป็นศรี ผลแห่งการกระทำประดุจโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์
การบริหารจัดการความสำเร็จด้วยสติปัญญา การพัฒนาผลประโยชน์ให้งอกเงย
พระ
๘ เป็นมูละ พื้นฐานชีวิตที่อิงกับกระแสสังคมแต่รอบรู้ในการกระทำเพื่อให้ได้มาและการใช้ประโยชน์ก่อนที่จะแสวงหาเข้ามาใหม่เสมือนการแลกเปลี่ยนหมุนเวียน
(ปัจจัยต่างๆมีอยู่ทั่วไป รู้จักใช้รู้จักหาหรือไม่เท่านั้น)
พระ
๖ เป็นอุตสาหะ การสร้างความราบรื่นให้กับการงานด้วยการอาศัยทักษะเฉพาะตัว(เสน่ห์,การพูดโน้มน้าว,ความรู้เฉพาะด้าน) ความคล่องตัวจากการประเมินทางเลือกก่อนตัดสินใจ
แต่มักเลือกในสิ่งที่ง่ายสบายตนถึงแม้ผลที่ได้จะน้อยก็ตาม
พระ
๑ เป็นมนตรี การได้รับความสนับสนุนเพราะความสามารถที่มีโดดเด่นในตน บุคคล,กลุ่มคนให้ความสนใจ
พระ
๒ เป็นกาลี จิตใจลังเล ตัดสินใจผิดพลาด ขาดความรับผิดชอบ วางธุระ อ่อนไหวแปรปรวน
อารมณ์บกพร่อง (เสียบริบทพื้นฐานทางด้านจิตใจ)
หมายเหตุ
: การพิจารณาสำนวนนี้วิเคราะห์จากเค้าโครงสร้างทางทักษาวิชาเดิม
คือ ความหมายทาง ดาว ธาตุ เรือนทักษา
ประยุกต์ให้เข้าระบบมัชฌิมาพยากรณ์ตามแบบฉบับสายวิชาของผู้เขียน
ธีรพร เพชรกำแพง
พฤศจิกายน ๒๕๕๕