29 มิถุนายน 2557

สื่อวีดิทัศน์โหราศาสตร์ไทย ชุด เปิดฟ้าผ่าดวง ตอน พิจารณาดวงด้วยวิชาเลข ๗ ตัว ๔ ฐาน ประสมทักษา #2



สื่อวีดิทัศน์ ชุด เปิดฟ้าผ่าดวง
ตอน พิจารณาดวงด้วยวิชาเลข ๗ ตัว ๔ ฐาน ประสมทักษา (๒)
สื่อการศึกษาและความบันเทิงในพยากรณ์ศาสตร์
โดย ธีรพร เพชรกำแพง

สื่อวีดิทัศน์โหราศาสตร์ไทย ชุด เปิดฟ้าผ่าดวง ตอน พิจารณาดวงด้วยวิชาเลข ๗ ตัว ๔ ฐาน ประสมทักษา #1



สื่อวีดิทัศน์ ชุด เปิดฟ้าผ่าดวง
ตอน พิจารณาดวงด้วยวิชาเลข ๗ ตัว ๔ ฐาน ประสมทักษา (๑)
สื่อการศึกษาและความบันเทิงในพยากรณ์ศาสตร์
โดย ธีรพร เพชรกำแพง

27 มิถุนายน 2557

ภาคคำนวณสุริยยาตร ... ทำมัธยมพระอาทิตย์

ทำมัธยมพระอาทิตย์

          หลังจากที่ผ่านการทำอัตตาเถลิงศกและอัตตากำเนิด พร้อมด้วยการอธิบายศัพท์ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว ผู้ศึกษาต้องจดจำผลการคำนวณในครั้งก่อนให้ดี เพราะจะเป็นข้อมูลปัจจัยที่เราใช้คำนวณกันในเรื่องต่อๆไป ซึ่งในครั้งนี้เราจะคำนวณหามัธยมพระอาทิตย์ อันเป็นบาทเพื่อที่จะหาสมผุสตำแหน่งพระอาทิตย์บนท้องฟ้าสุริยยาตรนี้ต่อไป โดยท้องพระคัมภีร์ได้กล่าวถึงการมัธยมพระอาทิตย์ดังนี้
          ถ้าจะทำมัธยมพระอาทิตย์ ให้ตั้ง กัมมัชพลกำเนิด ลง เอาเกณฑ์ ๒๔๓๕๐ หารลัพธ์เป็นราศี ถ้าหารมิได้ ลง ๐ เป็นเลขลัพธ์เสมอไป เศษเอา ๘๑๑ หาร ลัพธ์เป็นองศา มีเศษอีกเอา ๑๔ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา เศษเป็นฟิลิปดา  แล้วเอา ๓ ลบลิปดาทุกครั้ง ได้ลัพธ์เป็นราศีองศาลิปดาฟิลิปดาเท่าใด เป็น "มัธยมพระอาทิตย์" แล
ตัวอย่าง คำนวณหามัธยมพระอาทิตย์ วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖ อัตตากำเนิด(ประสงค์) ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้ผลการคำนวณดังนี้
หรคุณกำเนิด                        ๕๐๒๖๓๓
มาสเกณฑ์กำเนิด                    ๑๗๐๒๐
กัมมัชพลกำเนิด                      ๒๙๑๙๕
อุจจพลกำเนิด                       ๑๐๕๒
อวมานกำเนิด                       ๕๓๓
ดิถีกำเนิด                            ๑๓
วารกำเนิด                           ๕

-ให้ตั้ง กัมมัชพลกำเนิด ลง เอาเกณฑ์ ๒๔๓๕๐ หารลัพธ์เป็นราศี ถ้าหารมิได้ ลง ๐ เป็นเลขลัพธ์เสมอไป
๒๙๑๙๕ ÷ ๒๔๓๕๐ = ๑ เศษ ๔๘๔๕
ราศี =
-เศษเอา ๘๑๑ หาร ลัพธ์เป็นองศา
๔๘๔๕ ÷ ๘๑๑ = ๕ เศษ ๗๙๐
องศา =
-มีเศษอีกเอา ๑๔ หาร ลัพธ์เป็นลิปดา เศษเป็นฟิลิปดา
๗๙๐ ÷ ๑๔ = ๕๖ เศษ ๖
ลิปดา = ๕๖
ฟิลิปดา =
-แล้วเอา ๓ ลบลิปดาทุกครั้ง
๕๖ = ๕๓
-มัธยมพระอาทิตย์ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้ผลการคำนวณดังนี้
ราศี ๑ องศา ๕ ลิปดา ๕๓ ฟิลิปดา ๖


ธีรพร  เพชรกำแพง
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๗


15 มิถุนายน 2557

การคำนวณหรคุณจากปีคริสตศักราช

การคำนวณหรคุณจากปีคริสตศักราช
          บทความก่อนได้เสนอเนื้อหาและตัวอย่างการคำนวณจากท้องคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งเป็นการหาหรคุณจากปีจุลศักราช หรคุณคือจำนวนวันจากจุดเริ่มต้นถึงวันที่ต้องการทราบ ครั้งนี้จะได้แสดงตัวอย่างการหาหรคุณประสงค์ด้วยปีคริสตศักราช แล้วนำมาปรับค่าเท่ากับหรคุณแบบหาจากจุลศักราช ซึ่งจะเป็นประโยชน์สะดวกต่อการนับสุรทิน เพราะเมื่อได้ค่าหรคุณประสงค์แล้วนำไปลบหรคุณเถลิงศก ก็จะได้ค่าสุรทินคือจำนวนวันที่นับมาจากวันเถลิงศกถึงวันที่ประสงค์ สูตรการคำนวณหรคุณจากปีคริสตศักราชมีดังนี้
F = 365 x C + D + INT(275 x M ÷ 9) + 2 x INT(0.5 + 1 ÷ M) + INT(C ÷ 4) – INT(C ÷ 100) + INT(C ÷ 400) + 2
โดยที่ F = หรคุณ,C = คริสตศักราช,M = เดือน,D = วันที่
หรคุณคริสตศักราชที่ได้นำไปลบ 233141 เพื่อแปลงเป็นค่าหรคุณจุลศักราช
ตัวอย่าง การคำนวณหรคุณจากปีคริสตศักราช 2014  ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ (จุลศักราช ๑๓๗๖)
D = 22          M = 5           C = 2014
ขั้นที่ ๑ 365 x C + D
365 x 2014 = 735110
735110 + 22 = 735132
ขั้นที่ ๒ INT(275 x M ÷ 9)
275 x 5 = 1375
1375 ÷ 9 = 152.7777777777778
INT = 152
ขั้นที่ ๓ INT(0.5 + 1 ÷ M)
1 ÷ 5 = 0.2
0.2 + 0.5 = 0.7
INT = 0
ขั้นที่ ๔ INT(C ÷ 4)
2014 ÷ 4 = 503.5
INT = 503
ขั้นที่ ๕ INT(C ÷ 100)
2014 ÷ 100 = 20.14
INT = 20
ขั้นที่ ๖ INT(C ÷ 400)
2014 ÷ 400 = 5.035
INT = 5
ขั้นที่ ๗ (นำขั้นที่ ๑ + ขั้นที่ ๒) + (x ขั้นที่ ๓) + (ขั้นที่ ๔ - ขั้นที่ ๕ + ขั้นที่ ๖ + ๒)
-A นำขั้นที่ ๑ + ขั้นที่ ๒
735132 + 152 = 735284
-B x ขั้นที่ ๓
2 x 0 = 0
-C ขั้นที่ ๔ - ขั้นที่ ๕ + ขั้นที่ ๖ + ๒
503 – 20 = 483
483 + 5 = 488
488 + 2 = 490
-หรคุณ = A + B + C
735284 + 0 = 735284
735284 + 490 = 735774
-นำมาลบออกด้วย 233141 เพื่อแปลงค่าเป็นหรคุณจุลศักราช
735774 – 233141 = 502633
สรุป หรคุณคริสตศักราช = 735774 หรคุณจุลศักราช = 502633

ธีรพร  เพชรกำแพง
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗


14 มิถุนายน 2557

ภาคคำนวณสุริยยาตร ... อธิบายศัพท์

อธิบายศัพท์

          ในตอนที่แล้วมา ว่ากันด้วยเรื่องของการทำอัตตาเถลิงศกและอัตตากำเนิดหรืออัตตาประสงค์ ซึ่งคงจะมีศัพท์ที่ผู้ศึกษาอ่านแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจว่าศัพท์ใดหมายความว่าอย่างไร ฉะนั้นก่อนที่จะขึ้นไปสู่เรื่องอื่น ก็จะขอนำเอาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณในเบื้องแรกนี้มากล่าวไว้ก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดคลาดเคลื่อนอันอาจจะมีเกิดขึ้นได้
          หรคุณ คือ จำนวนวันตั้งแต่จุลศักราช ๐ หรือการเริ่มต้นศักราช จนถึงวันเถลิงศกหรือวันประสงค์ที่ต้องการจะทราบ
          กัมมัชพล คือ หน่วยการโคจรของดวงอาทิตย์ โดยที่ ๑ วัน มี ๘๐๐ กัมมัชพล เมื่อดวงอาทิตย์โคจรครบรอบจักรราศี(๓๖๐ องศา) จะมีกัมมัชพลถึง ๒๙๒๒๐๗ กัมมัชพล
          มาสเกณฑ์ คือ เดือนจันทรคติตามคัมภีร์สุริยยาตร โดยที่ ๓๐ ดิถี เป็น ๑ มาส และ ๑๒ มาส เป็น ๑ ปี
          ดิถี คือ วันตามการโคจรของดวงจันทร์
          อวมาน คือ หน่วยการโคจรของดวงจันทร์ โดยที่ ๖๙๒ อวมาน เป็น ๑ ดิถี วันหนึ่งจันทร์โคจรได้ ๗๐๓ อวมาน และ ๗๐๗๖๐ ในรอบจักรราศี(๓๖๐ องศา)
          อุจจพล คือ จุดเคลื่อนที่บนท้องฟ้าที่บังคับการโคจรของแกนโลกและดวงจันทร์ให้สัมพันธ์กัน อุจจพลเคลื่อนที่ ๑ รอบใช้เวลา ๓๒๓๒ วัน
          วาร คือ วันทั้ง ๗ ในสัปดาห์
          สุทิน หรือ สุรทิน คือ จำนวนวัน โดยนับจากวันเวลาเถลิงศกถึงวันที่ต้องการหรือวันประสงค์ ในทางคำนวณก็คือ วันประสงค์ – วันเถลิงศก = สุรทิน ก่อนที่จะคำนวณอัตตาประสงค์ การนับสุรทินให้ถูกต้องนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การคำนวณทุกอย่างมีความถูกต้อง หากนับสุรทินผิดเสียแต่อย่างเดียวแล้ว การคำนวณอย่างอื่นย่อมผิดหมด และเป็นการเสียเวลาเสียอารมณ์เมื่อคำนวณไปครึ่งไปค่อนหรือสำเร็จแล้วมารู้ว่าผิดในภายหลัง
          ฐานสูง ฐานต่ำ ในตำราคำนวณเก่าๆ เราจะเห็นว่ามักมีการแบ่งส่วนคำนวณออกเป็น ๒ ส่วน เพื่อใช้ในการคำนวณที่ต่างกัน คือเลขเดียวกันแต่แบ่งออกเป็นการคำนวณสองครั้ง เช่น ครั้งหนึ่งเลขนั้นใช้หาอวมาน อีกครั้งหนึ่งเลขนั้นใช้หาดิถี เป็นต้น
          ในตอนต่อๆไปศัพท์การคำนวณมีมากและหลากหลาย แต่ศัพท์หลักๆที่อยากให้จดจำไว้คือศัพท์ชุดที่ทำอัตตาเถลิงศกและอัตตากำเนิดนี้เอง

ธีรพร  เพชรกำแพง
๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗

13 มิถุนายน 2557

ภาคคำนวณสุริยยาตร ... ทำอัตตากำเนิด

          หลังจากที่ได้เขียนตัวอย่างการคำนวณประกอบเนื้อหาในคัมภีร์สุริยยาตรตอนที่แล้ว ทำให้คิดว่าน่าจะทำเป็นบทความต่อเนื่องเพื่อการศึกษาเรียนรู้การคำนวณตามท้องคัมภีร์สุริยยาตร จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีความสนใจ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มต้นในการศึกษาค้นคว้า ด้วยแหล่งข้อมูลในลักษณะนี้ค่อนข้างมีน้อยและอยู่ในวงจำกัด ฉันเองก็มิใช่ผู้เจนจบสามารถในศาสตร์แห่งนี้ แต่ด้วยเคยศึกษาพอประคองตนและเห็นประโยชน์จากการศึกษาว่าจะเป็นผลดีต่อบุคคลรุ่นใหม่ที่มีใจใฝ่เรียนใฝ่รู้ จะได้มีทางเลือกอีกแหล่งหนึ่งที่จะได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป ส่วนเนื้อหาบทความก็จะนำมาเสนอแบบค่อยคิดค่อยทำไปเรื่อยๆ เพราะในช่วงที่ทำบทความอยู่นี้สุขภาพแย่ลงทุกขณะ จึงอาจจะขาดตอนเว้นช่วงระยะเวลาช้าไปบ้าง หรืออาจจะมีส่วนผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าก่อน กระนั้นก็จะพยายามทำออกมานำเสนอให้แก่ผู้สนใจได้อ่านกันต่อไป

ทำอัตตากำเนิด
(อัตตาประสงค์)

ถ้าจะหา อัตตากำเนิด คือ วันเกิดของบุคคลก็ดี หาวันปัจจุบันที่จะต้องการที่เรียกว่า "สุรทินประสงค์" ก็ดี ต้องนับแต่หน้าวันเถลิงศกไปถึงวันเกิด หรือ วันที่ต้องการทราบได้เท่าใด เรียกว่า สุรทินอัตตา แล้วเอา สุรทินอัตตา บวกด้วยหรคุณอัตตาเป็น "หรคุณกำเนิด" แล้วนับเดือนห้าเป็นต้นไป จนถึงเดือนเกิดได้เท่าใดบวกเข้ากับมาสเกณฑ์อัตตา เป็น "มาสเกณฑ์กำเนิด" แล้วตั้งสุรทินอัตตาลง เอา ๘๐๐ คูณ เอา กัมมัชพลอัตตาบวก เป็น "กัมมัชพลกำเนิด" ตั้งอุจจพลอัตตาลง เอา สุรทินอัตตาบวก เป็น "อุจจพลกำเนิด" ตั้ง หรคุณกำเนิด ลง เอา ๗ หาร เศษ เป็น "วารกำเนิด"
ตั้งสุรทินอัตตาลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา ๑๑ คูณ   ได้ลัพธ์เท่าใด เอาอวมานอัตตาบวก แล้วเอา ๖๙๒ หารเศษเป็น "อวมานกำเนิด" ลัพธ์ซึ่งหารได้นั้น เอาไปบวกสุรทินอัตตาฐานต่ำ แล้วเอาดิถีอัตตาบวกเข้าด้วย ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๓๐ หาร เศษเป็น "ดิถีกำเนิด" แล
ถ้าเอา ๖๙๒ หารมิได้โดยตัวตั้งน้อยกว่าตัวหาร จำนวนเลขที่หารไม่ได้นั้นคงเป็นเศษทั้งสิ้น เศษนั้นเป็น อวมานกำเนิดอยู่เอง และถ้าเอา ๓๐ หารมิได้ จำนวนเลขที่หารไม่ได้นั้นก็คงเป็นเศษและเป็น ดิถีกำเนิด ด้วย
อนึ่งถ้าคำนวณไปแล้ว เศษวัน ออกมิตรงกับดิถี ให้ถอยสุรทินอัตตาเข้ามาเสียตัวหนึ่ง เพราะว่าเมื่อเวลาเกิดนั้น ดิถียังไม่เต็มบริบูรณ์ จึงต้องถอยสุรทินเข้าหาเพื่อให้ได้ผลตรงกับความที่เป็นจริง

ตัวอย่าง คำนวณอัตตาประสงค์ วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖

อัตตาเถลิงศก ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖
หรคุณอัตตา                ๕๐๒๕๙๗
กัมมัชพลอัตตา            ๓๙๕
อวมานอัตตา               ๑๓๗
เกณฑ์อัตตา                ๑๗๐๑๙
ดิถีอัตตา                   ๑๗
อุจจพลอัตตา              ๑๐๑๖
วันเถลิงศก                 ๔


-สุรทินอัตตาจากวันเถลิงศกคือ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๗ จนถึงวันประสงค์ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จำนวน ๓๖ วัน
สุรทินอัตตา = ๓๖

-เอา สุรทินอัตตา บวกด้วยหรคุณอัตตาเป็น "หรคุณกำเนิด"
๓๖ + ๕๐๒๕๙๗ = ๕๐๒๖๓๓
หรคุณกำเนิด = ๕๐๒๖๓๓

-แล้วนับเดือนห้าเป็นต้นไป จนถึงเดือนเกิดได้เท่าใดบวกเข้ากับมาสเกณฑ์อัตตา เป็น "มาสเกณฑ์กำเนิด"
นับเดือนได้ ๑ เดือน
๑๗๐๑๙ + ๑ = ๑๗๐๒๐
มาสเกณฑ์กำเนิด = ๑๗๐๒๐

ตั้งสุรทินอัตตาลง เอา ๘๐๐ คูณ เอา กัมมัชพลอัตตาบวก เป็น "กัมมัชพลกำเนิด"
๓๖ x ๘๐๐ = ๒๘๘๐๐
๒๘๘๐๐ + ๓๙๕ = ๒๙๑๙๕
กัมมัชพลกำเนิด = ๒๙๑๙๕

-ตั้งอุจจพลอัตตาลง เอา สุรทินอัตตาบวก เป็น "อุจจพลกำเนิด"
๑๐๑๖ + ๓๖ = ๑๐๕๒
อุจจพลกำเนิด = ๑๐๕๒

-ตั้ง หรคุณกำเนิด ลง เอา ๗ หาร เศษ เป็น "วารกำเนิด"
                   ๕๐๒๖๓๓ ÷ = ๗๑๘๐๔ เศษ ๕
วารกำเนิด =

-ตั้งสุรทินอัตตาลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา ๑๑ คูณ   ได้ลัพธ์เท่าใด เอาอวมานอัตตาบวก แล้วเอา ๖๙๒ หารเศษเป็น "อวมานกำเนิด"
๓๖ x ๑๑ = ๓๙๖
๓๙๖ + ๑๓๗ = ๕๓๓
๕๓๓ ÷ ๖๙๒ = ๐ เศษ ๕๓๓
อวมานกำเนิด= ๕๓๓

-ลัพธ์ซึ่งหารได้นั้น เอาไปบวกสุรทินอัตตาฐานต่ำ แล้วเอาดิถีอัตตาบวกเข้าด้วย ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๓๐ หาร เศษเป็น "ดิถีกำเนิด"
+ ๓๖ = ๓๖
๒๖ + ๑๗ = ๔๓
๔๓ ÷ ๓๐ = ๑ เศษ ๑๓
ดิถีกำเนิด = ๑๓

สรุปการทำอัตตากำเนิด(ประสงค์) ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้ผลการคำนวณดังนี้
หรคุณกำเนิด                        ๕๐๒๖๓๓
มาสเกณฑ์กำเนิด                    ๑๗๐๒๐
กัมมัชพลกำเนิด                     ๒๙๑๙๕
อุจจพลกำเนิด                       ๑๐๕๒
อวมานกำเนิด                       ๕๓๓
ดิถีกำเนิด                            ๑๓
วารกำเนิด                           ๕

ธีรพร  เพชรกำแพง
๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗


12 มิถุนายน 2557

ภาคคำนวณสุริยยาตร ... ทำอัตตาเถลิงศก

ทำอัตตาเถลิงศก

ถ้าจะทำ อัตตา ให้ตั้ง จุลศักราช ปีที่ต้องการนั้นลง เอา ๒๙๒๒๐๗ คูณ แล้วเอาเกณฑ์ ๓๗๓ บวก เอา ๘๐๐ หาร    ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๑ บวกเข้าเป็น หรคุณอัตตา เศษเอามาลบเชิงหาร (คือ เลข ๘๐๐ ที่เป็นตัวหาร) ตกลัพธ์เป็น "กัมมัชพลอัตตา" แล้วจึงตั้ง หรคุณอัตตาลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา ๑๑ คูณ เอา ๖๕๐ บวก แล้วเอา ๖๙๒ หาร เศษเป็น "อวมานอัตตา" ลัพธ์ซึ่งหารได้นั้น เอาไปบวกด้วย หรคุณอัตตาฐานต่ำ     แล้วเอา ๓๐ หาร เศษเป็น "ดิถีอัตตา" ลัพธ์เป็น "มาสเกณฑ์อัตตา" แล้วตั้งหรคุณอัตตาลงอีก เอาเกณฑ์ ๖๒๑ มาลบ เหลือเท่าใด เอา ๓๒๓๒ หาร เศษเป็น อุจจพลอัตตา ถ้าเอา ๗ หาร "หรคุณอัตตา" เศษเป็น "วันเถลิงศก"

ตัวอย่าง การทำอัตตาเถลิงศกปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖
-ให้ตั้ง จุลศักราช ปีที่ต้องการนั้นลง เอา ๒๙๒๒๐๗ คูณ แล้วเอาเกณฑ์ ๓๗๓ บวก
๑๓๗๖ x ๒๙๒๒๐๗ = ๔๐๒๐๗๖๘๓๒
๔๐๒๐๗๖๘๓๒ + ๓๗๓ = ๔๐๒๐๗๗๒๐๕

-เอา ๘๐๐ หาร ได้ลัพธ์เท่าใด เอา ๑ บวกเข้าเป็น หรคุณอัตตา
๔๐๒๐๗๗๒๐๕ ÷ ๘๐๐ = ๕๐๒๕๙๖ เศษ ๔๐๕
๕๐๒๕๙๖ + = ๕๐๒๕๙๗
หรคุณอัตตา = ๕๐๒๕๙๗

-เศษเอามาลบเชิงหาร (คือ เลข ๘๐๐ ที่เป็นตัวหาร) ตกลัพธ์เป็น "กัมมัชพลอัตตา"
๘๐๐ - ๔๐๕ = ๓๙๕
กัมมัชพลอัตตา = ๓๙๕

-ตั้ง หรคุณอัตตาลงเป็นสองฐาน ฐานบนเอา ๑๑ คูณ เอา ๖๕๐ บวก แล้วเอา ๖๙๒ หาร เศษเป็น "อวมานอัตตา"
๕๐๒๕๙๗ x ๑๑ = ๕๕๒๘๕๖๗
๕๕๒๘๕๖๗ + ๖๕๐ = ๕๕๒๙๒๑๗
๕๕๒๙๒๑๗ ÷ ๖๙๒ = ๗๙๙๐ เศษ ๑๓๗
อวมานอัตตา = ๑๓๗

-ลัพธ์ซึ่งหารได้นั้น เอาไปบวกด้วย หรคุณอัตตาฐานต่ำ     แล้วเอา ๓๐ หาร เศษเป็น "ดิถีอัตตา" ลัพธ์เป็น "มาสเกณฑ์อัตตา"
๗๙๙๐ + ๕๐๒๕๙๗ = ๕๑๐๕๘๗
๕๑๐๕๘๗ ÷ ๓๐ = ๑๗๐๑๙ เศษ ๑๗
มาสเกณฑ์อัตตา = ๑๗๐๑๙
ดิถีอัตตา = ๑๗
-แล้วตั้งหรคุณอัตตาลงอีก เอาเกณฑ์ ๖๒๑ มาลบ เหลือเท่าใด เอา ๓๒๓๒ หาร เศษเป็น อุจจพลอัตตา
๕๐๒๕๙๗ - ๖๒๑ = ๕๐๑๙๗๖
๕๐๑๙๗๖ ÷ ๓๒๓๒ = ๑๕๕ เศษ ๑๐๑๖
อุจจพลอัตตา = ๑๐๑๖

-ถ้าเอา ๗ หาร "หรคุณอัตตา" เศษเป็น "วันเถลิงศก"
๕๐๒๕๙๗ ÷ = ๗๑๗๙๙ เศษ ๔
วันเถลิงศก =

สรุปการทำอัตตาเถลิงศก ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖ ได้ผลการคำนวณดังนี้
หรคุณอัตตา               ๕๐๒๕๙๗
กัมมัชพลอัตตา            ๓๙๕
อวมานอัตตา               ๑๓๗
เกณฑ์อัตตา                ๑๗๐๑๙
ดิถีอัตตา                   ๑๗
อุจจพลอัตตา              ๑๐๑๖
วันเถลิงศก                 ๔

ธีรพร  เพชรกำแพง

๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗

วิชาเก่าเล่าตำนาน ตอน เกณฑ์พิรุณศาสตร์

เกณฑ์พิรุณศาสตร์

ประเทศไทยเรานี้ดินดีน้ำอุดมสมกับเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉันเองยังนึกไปไกลเสมอว่าประเทศไทยเรานี้จะเป็นครัวของโลก มีทั้งข้าวปลานาน้ำผักผลไม้สารพัด คนไทยถ้ายังไม่ทิ้งวิถีเกษตรกรรมความฝันที่จะพัฒนาประเทศตามชะตาเมืองก็คงจะสามารถสานฝันนั้นให้ก้าวไกลเป็นจริงได้
พูดถึงความเป็นชาติเกษตรกรรม ครั้งนี้จะว่ากันถึงเกณฑ์ “พิรุณศาสตร์”เป็นการคำนวณว่าฝนจะตกที่ใดเป็นจำนวนเท่าใด คือตกในจักรวาล หิมพานต์ มหาสมุทร และมนุษยโลก เป็นจำนวนเท่าใด(ห่า) ซึ่งมีหลักการคำนวณดังต่อไปนี้

ตั้งจุลศักราชลง เอา ๔ ลบ เอา ๗ หาร (หรือเอา ๑๐๓๖ ลบ เอา ๗ หาร) เศษเป็นอธิบดีฝน (คือ ๑ อาทิตย์,๒ จันทร์,๓ อังคาร,๔ พุธ,๕ พฤหัสบดี,๖ ศุกร์,๗ เสาร์)
          เศษ ๑ หรือ ๗(๐)          ฝนตก ๔๐๐ ห่า
          เศษ ๒ หรือ ๕              ฝนตก ๕๐๐ ห่า
          เศษ ๓                      ฝนตก ๓๐๐ ห่า
          เศษ ๔ หรือ ๖              ฝนตก ๖๐๐ ห่า
หากประสงค์จะทราบว่าฝนตกที่ใดเป็นจำนวนเท่าใด ให้แบ่งเกณฑ์ฝนออกเป็น ๑๐ ส่วน
ตกในจักรวาล              ๔ ส่วน
ตกในหิมพานต์             ๓ ส่วน
ตกในมหาสมุทร            ๒ ส่วน
ตกในมนุษยโลก            ๑ ส่วน

ตัวอย่าง พุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖
๑๓๗๖ - ๔ = ๑๓๗๒
๑๓๗๒ ÷ = ๑๙๖ เศษ ๐ (หรือ ๗ นั่นเอง)
เท่ากับว่าปีนี้ ๒๕๕๗ ได้เศษ ๗ เสาร์เป็นอธิบดีฝน ฝนตก ๔๐๐ ห่า ต่อไปคำนวณว่าฝนตกที่ใดจำนวนเท่าใด ดังนี้
ตกในจักรวาล              ๔ ส่วน
          ๔๐๐ x /๑๐ = ๑๖๐
ตกในหิมพานต์             ๓ ส่วน
๔๐๐ x /๑๐ = ๑๒๐
ตกในมหาสมุทร            ๒ ส่วน
๔๐๐ x /๑๐ = ๘๐
ตกในมนุษยโลก            ๑ ส่วน
๔๐๐ x /๑๐ = ๔๐
สรุป พุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖ เกณฑ์พิรุณศาสตร์ปีนี้ เสาร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในจักรวาล ๑๖๐ ห่า ตกในหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในมนุษยโลก ๔๐ ห่า
ธีรพร  เพชรกำแพง
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗

การคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศก

การคำนวณหา
วันที่และเวลาเถลิงศก

            กัลยาณมิตรนักโหราศาสตร์อันเป็นที่รัก ครั้งนี้ฉันจะว่าด้วยเรื่องของการคำนวณหา “วันที่และเวลาเถลิงศก”  ซึ่งคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เริ่มต้นในการศึกษาภาคคำนวณอยู่บ้าง “วันเถลิงศก” คือวันขึ้นปีใหม่ทางโหราศาสตร์ ถือว่าเป็นวันเปลี่ยนปีทางจุลศักราช และเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษโดยสมบูรณ์ และจะมีการคำนวณอัตตาเถลิงศกที่ว่ากันถึง หรคุณ กัมมัชพล มาสเกณฑ์ ดิถี อวมาน อุจพล และวารเถลิงศก ตามที่ฉันเคยได้กล่าวถึงสูตรการคำนวณไว้แล้ว แต่ยังไม่เคยได้ทำตัวอย่างการคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศกประกอบไว้ด้วย เพื่อสะดวกต่อผู้ที่สนใจใคร่ศึกษา ในครั้งนี้จึงขอจัดทำตัวอย่างการคำนวณดังกล่าวแสดงไว้ในที่นี้
            เบื้องแรกให้ทราบว่าสูตรการคำนวณวันที่และเวลาเถลิงศกที่นำมาใช้ในการคำนวณนี้ เป็นสูตรที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์สุริยยาตรศิวาคม ของท่านอาจารย์พันเอก(พิเศษ)เอื้อน มณเทียรทอง ดังนี้

สูตรคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศก
จ.ศ. x ๐.๒๕๘๗๕ - INT(จ.ศ. ÷ ๔ + ๐.๕) + INT(จ.ศ. ÷ ๑๐๐ + ๐.๓๘) – INT(จ.ศ. ÷ ๔๐๐ + ๐.๕๙๕) – ๕.๕๓๓๗๕
ผลที่ได้เป็นวันที่ ทศนิยมของวันที่เป็นเวลา ซึ่งมีรูปแบบการแปลงเป็นชั่วโมง นาที วินาทีต่อไป
           
เราจะคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศกของปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖  โดยจะแยกการคำนวณออกเป็นขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ ๑ จ.ศ. x ๐.๒๕๘๗๕
๑๓๗๖ x ๐.๒๕๘๗๕ = ๓๕๖.๐๔

ขั้นที่ ๒ INT(จ.ศ. ÷ ๔ + ๐.๕)
๑๓๗๖ ÷ ๔ = ๓๔๔
๓๔๔ + . =๓๔๔.
INT(๓๔๔.) = ๓๔๔

ขั้นที่ ๓ INT(จ.ศ. ÷ ๑๐๐ + ๐.๓๘)
๑๓๗๖ ÷ ๑๐๐ = ๑๓.๗๖
๑๓.๗๖ + .๓๘ = ๑๔.๑๔
INT(๑๔.๑๔) = ๑๔

ขั้นที่ ๔ INT(จ.ศ. ÷ ๔๐๐ + ๐.๕๙๕)
๑๓๗๖ ÷ ๔๐๐ = .๔๔
.๔๔ + .๕๙๕ = .๐๓๕
INT(.๐๔๖๘) =

ขั้นที่ ๕ นำผลขั้นที่ ๑ - ขั้นที่ ๒ + ขั้นที่ ๓ – ขั้นที่ ๔ - ๕.๕๓๓๗๕
๓๕๖.๐๔ - ๓๔๔ + ๑๔ -๕.๕๓๓๗๕ = ๑๖.๕๐๖๒๕   

ผลที่ได้คือ ๑๖.๕๐๖๒๕ จำนวนเต็มคือ ๑๖ เป็นวันที่เถลิงศก เท่ากับว่าเถลิงศกวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๗ เศษทศนิยมที่เหลือใช้หาเวลาเถลิงศกต่อไป

ขั้นที่ ๑ นำทศนิยมคูณด้วย ๒๔ จำนวนเต็มเป็นชั่วโมง(นาฬิกา) เศษทศนิยมที่เหลือใช้หานาทีต่อไป
๐.๕๐๖๒๕ x ๒๔ = ๑๒.๑๕
INT(๑๒.๑๕) = ๑๒
ขั้นที่ ๒ นำทศนิยมที่เหลือจากขั้นที่ ๑ x ๖๐ จำนวนเต็มเป็นนาที
.๑๕ x ๖๐ =
สรุปผลการคำนวณ ปีพ.ศ.๒๕๕๗ จ.ศ.๑๓๗๖ เถลิงศกวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๒.๐๙ น.

ธีรพร เพชรกำแพง
๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๗