การคำนวณหา
วันที่และเวลาเถลิงศก
กัลยาณมิตรนักโหราศาสตร์อันเป็นที่รัก ครั้งนี้ฉันจะว่าด้วยเรื่องของการคำนวณหา
“วันที่และเวลาเถลิงศก” ซึ่งคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เริ่มต้นในการศึกษาภาคคำนวณอยู่บ้าง
“วันเถลิงศก” คือวันขึ้นปีใหม่ทางโหราศาสตร์ ถือว่าเป็นวันเปลี่ยนปีทางจุลศักราช และเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษโดยสมบูรณ์
และจะมีการคำนวณอัตตาเถลิงศกที่ว่ากันถึง หรคุณ กัมมัชพล มาสเกณฑ์ ดิถี อวมาน
อุจพล และวารเถลิงศก ตามที่ฉันเคยได้กล่าวถึงสูตรการคำนวณไว้แล้ว แต่ยังไม่เคยได้ทำตัวอย่างการคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศกประกอบไว้ด้วย
เพื่อสะดวกต่อผู้ที่สนใจใคร่ศึกษา
ในครั้งนี้จึงขอจัดทำตัวอย่างการคำนวณดังกล่าวแสดงไว้ในที่นี้
เบื้องแรกให้ทราบว่าสูตรการคำนวณวันที่และเวลาเถลิงศกที่นำมาใช้ในการคำนวณนี้
เป็นสูตรที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์สุริยยาตรศิวาคม
ของท่านอาจารย์พันเอก(พิเศษ)เอื้อน มณเทียรทอง ดังนี้
สูตรคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศก
ผลที่ได้เป็นวันที่
ทศนิยมของวันที่เป็นเวลา ซึ่งมีรูปแบบการแปลงเป็นชั่วโมง นาที วินาทีต่อไป
เราจะคำนวณหาวันที่และเวลาเถลิงศกของปีพุทธศักราช
๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖ โดยจะแยกการคำนวณออกเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่
๑ จ.ศ. x ๐.๒๕๘๗๕
๑๓๗๖ x ๐.๒๕๘๗๕ = ๓๕๖.๐๔
ขั้นที่
๒ INT(จ.ศ.
÷ ๔ + ๐.๕)
๑๓๗๖
÷ ๔ = ๓๔๔
๓๔๔ + ๐.๕ =๓๔๔.๕
INT(๓๔๔.๕) = ๓๔๔
ขั้นที่
๓ INT(จ.ศ.
÷ ๑๐๐ + ๐.๓๘)
๑๓๗๖
÷ ๑๐๐ = ๑๓.๗๖
๑๓.๗๖ + ๐.๓๘ = ๑๔.๑๔
INT(๑๔.๑๔) = ๑๔
ขั้นที่
๔ INT(จ.ศ.
÷ ๔๐๐ + ๐.๕๙๕)
๑๓๗๖
÷ ๔๐๐ = ๓.๔๔
๓.๔๔ + ๐.๕๙๕ = ๔.๐๓๕
INT(๒.๐๔๖๘) = ๔
ขั้นที่
๕ นำผลขั้นที่ ๑ - ขั้นที่ ๒ + ขั้นที่ ๓ – ขั้นที่ ๔ - ๕.๕๓๓๗๕
ผลที่ได้คือ
๑๖.๕๐๖๒๕
จำนวนเต็มคือ ๑๖ เป็นวันที่เถลิงศก เท่ากับว่าเถลิงศกวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๗
เศษทศนิยมที่เหลือใช้หาเวลาเถลิงศกต่อไป
ขั้นที่
๑ นำทศนิยมคูณด้วย ๒๔ จำนวนเต็มเป็นชั่วโมง(นาฬิกา)
เศษทศนิยมที่เหลือใช้หานาทีต่อไป
๐.๕๐๖๒๕
x ๒๔ = ๑๒.๑๕
INT(๑๒.๑๕) = ๑๒
ขั้นที่
๒ นำทศนิยมที่เหลือจากขั้นที่ ๑ x ๖๐ จำนวนเต็มเป็นนาที
๐.๑๕ x ๖๐ = ๙
สรุปผลการคำนวณ
ปีพ.ศ.๒๕๕๗ จ.ศ.๑๓๗๖ เถลิงศกวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๒.๐๙ น.
ธีรพร
เพชรกำแพง
๑๒
มิถุนายน ๒๕๕๗