12 มิถุนายน 2557

วิชาเก่าเล่าตำนาน ตอน เกณฑ์พิรุณศาสตร์

เกณฑ์พิรุณศาสตร์

ประเทศไทยเรานี้ดินดีน้ำอุดมสมกับเป็นประเทศเกษตรกรรม ฉันเองยังนึกไปไกลเสมอว่าประเทศไทยเรานี้จะเป็นครัวของโลก มีทั้งข้าวปลานาน้ำผักผลไม้สารพัด คนไทยถ้ายังไม่ทิ้งวิถีเกษตรกรรมความฝันที่จะพัฒนาประเทศตามชะตาเมืองก็คงจะสามารถสานฝันนั้นให้ก้าวไกลเป็นจริงได้
พูดถึงความเป็นชาติเกษตรกรรม ครั้งนี้จะว่ากันถึงเกณฑ์ “พิรุณศาสตร์”เป็นการคำนวณว่าฝนจะตกที่ใดเป็นจำนวนเท่าใด คือตกในจักรวาล หิมพานต์ มหาสมุทร และมนุษยโลก เป็นจำนวนเท่าใด(ห่า) ซึ่งมีหลักการคำนวณดังต่อไปนี้

ตั้งจุลศักราชลง เอา ๔ ลบ เอา ๗ หาร (หรือเอา ๑๐๓๖ ลบ เอา ๗ หาร) เศษเป็นอธิบดีฝน (คือ ๑ อาทิตย์,๒ จันทร์,๓ อังคาร,๔ พุธ,๕ พฤหัสบดี,๖ ศุกร์,๗ เสาร์)
          เศษ ๑ หรือ ๗(๐)          ฝนตก ๔๐๐ ห่า
          เศษ ๒ หรือ ๕              ฝนตก ๕๐๐ ห่า
          เศษ ๓                      ฝนตก ๓๐๐ ห่า
          เศษ ๔ หรือ ๖              ฝนตก ๖๐๐ ห่า
หากประสงค์จะทราบว่าฝนตกที่ใดเป็นจำนวนเท่าใด ให้แบ่งเกณฑ์ฝนออกเป็น ๑๐ ส่วน
ตกในจักรวาล              ๔ ส่วน
ตกในหิมพานต์             ๓ ส่วน
ตกในมหาสมุทร            ๒ ส่วน
ตกในมนุษยโลก            ๑ ส่วน

ตัวอย่าง พุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖
๑๓๗๖ - ๔ = ๑๓๗๒
๑๓๗๒ ÷ = ๑๙๖ เศษ ๐ (หรือ ๗ นั่นเอง)
เท่ากับว่าปีนี้ ๒๕๕๗ ได้เศษ ๗ เสาร์เป็นอธิบดีฝน ฝนตก ๔๐๐ ห่า ต่อไปคำนวณว่าฝนตกที่ใดจำนวนเท่าใด ดังนี้
ตกในจักรวาล              ๔ ส่วน
          ๔๐๐ x /๑๐ = ๑๖๐
ตกในหิมพานต์             ๓ ส่วน
๔๐๐ x /๑๐ = ๑๒๐
ตกในมหาสมุทร            ๒ ส่วน
๔๐๐ x /๑๐ = ๘๐
ตกในมนุษยโลก            ๑ ส่วน
๔๐๐ x /๑๐ = ๔๐
สรุป พุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖ เกณฑ์พิรุณศาสตร์ปีนี้ เสาร์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในจักรวาล ๑๖๐ ห่า ตกในหิมพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในมนุษยโลก ๔๐ ห่า
ธีรพร  เพชรกำแพง
๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗