การนับอายุ ๓ วิธี
การนับอายุนั้นมีวิธีนับ
๓ วิธี
๑. อายุไทย คืออายุที่นับตามปีนักษัตร
ซึ่งได้แก่ปีชวด ปีฉลู เป็นต้น
โดยกำหนดว่าคนที่เกิดปีชวดจะเกิดต้นปีหรือปลายปีก็ตาม จะถือว่าคนนั้นมีอายุได้ ๑
ปี และเมื่อขึ้นปีฉลูก็จะถือว่าเป็นปีที่ ๒
แม้ว่าถ้านับวันและเดือนอย่างแท้จริงแล้ว จะยังไม่ถึง ๒ ปีก็ตาม
ผู้ที่เกิดในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ ตรงกับ วันอังคาร
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ปีวอก นับอายุไทยได้ ๕๗ ปี อายุไทยของท่านครบ ๕๗ ปี
เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ปีมะโรง และจะมีอายุไทยครบ
๕๘ ปี ในวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ปีมะเส็ง
๒. อายุโหร คืออายุที่นับครบปีจริงๆ
จะนับเป็นปีได้ก็ต่อเมื่อต้องครบปีอย่างแท้จริง เช่นคนเกิดเดือนอ้าย
จะถือว่าอายุครบปีก็ต่อเมื่อถึงเดือนอ้ายอีกครั้ง
ผู้ที่เกิดในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ ตรงกับ วันอังคาร
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ปีวอก นับอายุโหรได้ ๕๕ ปี อายุโหรของท่านครบ ๕๕ ปี
เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ และจะมีอายุโหรครบ
๕๖ ปี ในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง
๓. อายุชำระ
คืออายุที่นับกันอย่างละเอียดจริงๆ ซึ่งเป็นการคิดอายุให้รู้ถึงปี เดือน วัน
โดยคิดละเอียดลงไปว่าในวันปัจจุบันมีอายุได้กี่ปี กี่เดือน กี่วัน
ผู้ที่เกิดในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ ตรงกับ วันอังคาร
ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ (๒) ปีวอก นับอายุชำระได้ ๕๕ ปี ๑๑ เดือน ๑๐ วัน อายุชำระของท่านครบ
๕๕ ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่
ปีเถาะ และจะมีอายุชำระครบ ๕๖ ปี ในวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ
เดือนยี่ ปีมะเส็ง