สำนวนเดิมท่านว่า...
เทวดาครอง นิรฤติ
ชื่ออื่น อสุร อัครตุภุช
ชาติ คนขายเนื้อวัว
รูป เป็นรูปดาว ๖ ดวงเรียงกันเป็นรูปวัวหรือปฏัก
ความหมายเดิมท่านว่า...
“เป็นคนช่างพูด เจ้าคารมคมคาย แต่ทรยศคดโกง ไม่มีสัจจะแม้แต่ในครอบครัวของตัวเอง ไม่มีความผาสุก ยากจนลำบาก”
สำนวนการตีความ โดย ธีรพร เพชรกำแพง
“ดาวแห่งรากฐาน” ประยุกต์ ปรับปรุง ปรับตัว เปลี่ยนแปลง แก้ไข แปรเปลี่ยน มุมมองในแง่ดี เบื่อง่ายหน่ายเร็ว รากเหง้าเหล้าเดิม พื้นฐานรากฐานเดิม ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง กระตือรือร้น ลึกซึ้ง การเพรียกหา ส่วนลึกในจิตใจ การสืบสวนทวนความย้อนหาอดีต การวิเคราะห์ วิจัย แยกแยะ ศึกษาค้นคว้า ค้นหา รู้สึกผูกพันผูกมัดมีพันธะต่อกัน การจัดลำดับขั้นตอนการดำเนินชีวิตตั้งแต่สภาวะแวดล้อมจนถึงรูปแบบการดำเนิน ชีวิตส่วนตัวและทั่วไป(แต่ต้นจนปลาย) มีความเข้าใจและรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสในบริบทต่างๆของสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่ สามารถปรับเปลี่ยนชีวิตในด้านลบให้ดีขึ้นได้ ประสบการณ์ด้านลบในอดีตที่โหดร้ายเจ็บปวดรุนแรงจะป็นเครื่องเยียวยาบังคับมิ ให้เกิดความผิดพลาดอีก ประหนึ่งปลดพันธนาการออกจากร่างกาย เสมือนการผ่านจุดที่เลวร้ายเข้าสู่จุดที่ดีขึ้นกว่าเดิม ความผูกพันทางอารมณ์มีมากกว่าเหตุผล ดังนั้นความไม่พึงใจจึงเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ต้องใช้สติปัญญาระงับจิตใจด้านลบอยู่เสมอ จึงมักอยู่กับความคิดมากกว่าการแสดงออก พอถึงเวลาทำก็กระทำโดยไม่ออกอาการหรือบอกกล่าวเลยเช่นกัน นับเป็นพฤติกรรมแปลกลึกลับแบบฉบับเฉพาะตัว มักใฝ่หาหนทางที่ดีกว่า เปลี่ยนแปลงหนทางอยู่เรื่อยๆ โดยคำนึงถึงประสบการณ์เก่าของตนเองมาก่อน พฤติกรรมที่หวังผลมากเกินไป จริงจังเกินพอดี บางทีผลสำเร็จออกมาก็ไม่เป็นไปตามที่พึงใจที่ปรารถนา
ธีรพร เพชรกำแพง
๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
๐๘.๒๗ น. (เขียน ๓ วัน ครบ ๒๗ ฤกษ์)